อนันตจักรวาลและวิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 300
หน้าที่ 300 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ที่ถูกโต้แย้งว่าไม่เพียงแค่เรื่องวัตถุ แต่รวมถึงจิตใจ การศึกษาจิตใจสำคัญต่อความรู้แจ้งในสรรพสิ่ง อธิบายพีชนิยามและความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และสัตว์ตามพระไตรปิฎกที่ระบุว่าสัตว์คืออดีตมนุษย์ที่ขาดมนุษยธรรม จีโนมของมนุษย์และสัตว์มีความใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น หนู สุนัข และลิง ซึ่งได้รับการศึกษาและเปรียบเทียบกันเพื่อเข้าใจถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตบนโลก

หัวข้อประเด็น

-ทฤษฎีสรรพสิ่ง
-จิตใจและวิทยาศาสตร์
-พีชนิยาม
-พระไตรปิฎกและสัตว์
-จีโนมและมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนันตจักรวาล นักวิทยาศาสตร์มีความคาดหวังมานานแล้วว่า อยากจะมีทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ซึ่งสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้ตั้งแต่อนุภาคขนาดเล็กในระดับ นาโนเมตรจนถึงสิ่งที่ใหญ่อย่างจักรวาล แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่อาจจะคิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาได้ สาเหตุสำคัญที่ยังไม่ค้นพบเพราะนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เน้นเรื่องวัตถุ ไม่ได้ศึกษาเรื่องจิตใจ อันเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูไปสู่การรู้แจ้งในสรรพสิ่ง 10.6.1 พืชนิยามกับวิทยาศาสตร์ พีชนิยาม คือ กฎของสิ่งมีชีวิต หมายรวมถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ แต่ใน ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะมนุษย์กับสัตว์เท่านั้น โดยจะเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และ สัตว์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับคำสอนในพระไตรปิฎก คำสอนในพระไตรปิฎกกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์ยุคแรกจุติมาจากพรหมโลกลง มาอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ยุคแรก ๆ นั้นทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดี ต่อมากิเลสที่มี อยู่ในใจมนุษย์บีบบังคับให้มนุษย์ทำผิดศีลธรรม ทำให้ตัวมนุษย์เองและสิ่งแวดล้อมเสื่อมลงมา เรื่อยๆ และที่สำคัญการที่มนุษย์ไม่รักษาศีล 5 หรือ กุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นมนุษยธรรมคือ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์นั้น เป็นเหตุให้มนุษย์ผู้นั้นไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานหลังจากตายจาก ชาตินั้นไปแล้ว หลักคำสอนในพระไตรปิฎกจึงระบุชัดเจนว่า สัตว์ คือ อดีตมนุษย์ที่ไม่ดำรงอยู่ใน มนุษยธรรม มนุษย์ไม่ได้วิวัฒนาการมาจากสัตว์ดัง “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของชาร์ลส์ ดาร์วิน แต่สัตว์ต่างหากที่เสื่อมถอยลงมาจากการเป็นมนุษย์ จริง ๆ แล้วผลการวิจัยเรื่อง “จีโนม” ของนักวิทยาศาสตร์ก็มีข้อสังเกตบางประการที่ชี้ ให้เห็นว่า จุดเริ่มต้นของสรรพสัตว์ทั้งหลายน่าจะมาจากแหล่งเดียวกันคือมนุษย์ ต่อมาจึงค่อย ๆ ผ่าเหล่ากันออกไปเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ จีโนม (Genome)ความใกล้เคียงกันของมนุษย์และสัตว์ จากการถอดรหัสจีโนมของมนุษย์เปรียบเทียบกับของสัตว์ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้น พบว่า จีโนมของมนุษย์และสัตว์มีความใกล้เคียงกันมาก โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ลิซ่า สติปส์ (Lisa Stubbs) กล่าวว่า มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมโดยส่วนใหญ่หรือทั้งหมด เช่น หนู สุนัข แมว กระต่าย และ ลิง เป็นต้น มีจำนวน DNA ในจีโนมโดยประมาณเท่าๆ กันคือ ประมาณ 3,000 ล้านคู่เบส การที่จำนวน DNA เท่าๆ กันนี้ชี้ให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 289
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More