บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 154
หน้าที่ 154 / 373

สรุปเนื้อหา

การวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราชมุ่งเน้นไปที่หลักการบริหารที่เรียกว่า "ยัญ 5" เพื่อการสงเคราะห์ประชาชน ซึ่งประกอบด้วยการสนับสนุนการเกษตร, การส่งเสริมข้าราชการ, และการส่งเสริมอาชีพ ขณะที่มีการดัดแปลงพิธีกรรมบูชาจากการเฉลิมฉลองไปสู่การกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์ เช่น การฆ่าม้าและฆ่าคนเพื่อความมั่งคั่งส่วนตน โดยข้อมูลดังกล่าวอ้างอิงมาจากหนังสือ “รัฐศาสตร์เชิงพุทธ” โดยพระภาวนาวิริยคุณและมีการปรับเนื้อหาเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

-การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช
-หลักการราชสังคหวัตถุ
-พิธีกรรมบูชามหายัญ
-ยัญ 5
-การดัดแปลงพิธีกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

และกัน ทำให้กองพระราชทรัพย์อันเกิดจากภาษีอากรมีจำนวนมาก บ้านเมืองก็ตั้งมั่นอยู่ใน ความเกษม หาเสี้ยนหนามมิได้ ประชาชนชื่นชมยินดีต่อกันไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่ 6.9 บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราชนี้ อ้างอิงข้อมูลพื้นฐานจากหนังสือ “รัฐศาสตร์เชิงพุทธ” โดยพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และบางส่วนผู้ จัดทำหนังสือได้เขียนเสริมเข้าไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ โดย ประเด็นแรกที่จะวิเคราะห์คือ พิธีกรรมบูชามหายัญยุคดั้งเดิม ดังนี้ 6.9.1 พิธีกรรมบูชามหายัญยุคดั้งเดิม ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์นับพัน ๆ ปีก่อนพุทธกาล พระราชาแต่ละแคว้นปกครอง ประชาชนด้วยหลักราชสังคหวัตถุ อันเป็นหลักสงเคราะห์ประชาชนพลเมือง โดยสมัยนั้นเรียก หลักสงเคราะห์นี้ว่า “ยัญ 5” มีดังนี้ (1) สัสสเมธะ คือ ฉลาดในการทำนุบำรุงพืชพันธ์ ธัญญาหาร โดยเก็บภาษีที่นา ร้อยละ 10 ตามความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อทำนุบำรุงเหล่าเกษตรกร (2) ปุริสเมธะ คือ ฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ โดยให้ค่าจ้างบำเหน็จรางวัลแก่ทหารทุกๆ 6 เดือน (3) สัมมาปาสะ คือความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ ให้กู้ยืม เงินโดยปลอดดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี (4) วาชเปยยะ คือ การมีวาจาอันดูดดื่ม ด้วยการพบปะให้โอวาทประชาชน (5) นิรัคคฬะ คือ บ้านเมืองสงบสุขปราศจากโจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงกัน บ้านเรือนไม่ ต้องลงกลอน ซึ่งเป็นผลอันเกิดจากยัญ 4 ประการแรก ต่อมาเมื่อหลายร้อยปีก่อนยุคพุทธกาล มีพราหมณ์บางคน บางกลุ่ม บางพวก ไม่ ซื่อตรงต่อวิชาความรู้ของตน ได้ดัดแปลงการบูชายัญเพื่อกำจัดศัตรูบ้านเมือง และเพื่อผล ประโยชน์ส่วนตนโดยเปลี่ยน (1) สัสสเมธะ เป็น อัสวเมธะ คือ การฆ่าม้าบูชายัญ (2) ปุริสเมธะ เป็นการฆ่าคนบูชายัญ บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 143
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More