การศึกษาโครงสร้างจักรวาลจากมุมมองพุทธศาสตร์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 305
หน้าที่ 305 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการศึกษาจักรวาลและภพภูมิจากมุมมองของพระไตรปิฎก ซึ่งเสนอว่าความไม่เท่ากันของเวลาในแต่ละภพภูมิ รวมถึงการซ้อนทับของภพภูมิต่างๆ ในโลกมนุษย์เป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจแหล่งกำเนิดของคลื่นวิทยุในกาแล็กซี การศึกษาโครงสร้างจักรวาลจะช่วยให้มีข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วนมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบภพภูมิเป็นอาคารสูงมี 31 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นมีการเดินของเวลาแตกต่างกัน

หัวข้อประเด็น

-การเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์
-คลื่นวิทยุในกาแล็กซี
-ภพภูมิและพุทธศาสนา
-ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์
-ความไม่เท่ากันของเวลาในจักรวาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บนและล่างของกาแล็กซี” ดังนั้นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุก็ควรจะมาจากบริเวณขอบของกาแล็กซี มากกว่าจากด้านบนหรือล่างของมันด้วย แต่เหตุใดแหล่งกำเนิดวิทยุที่ค้นพบจึงดู กระจัดกระจายทั่วท้องฟ้าไปหมด นักดาราศาสตร์ยังไม่อาจตอบคำถามนี้ได้ หากนักดาราศาสตร์เหล่านี้ได้ศึกษาโครงสร้างจักรวาลในพระไตรปิฎกแล้ว คงจะได้รับ ความกระจ่างมากขึ้นว่า จริงๆ แล้วในส่วนบนและล่างของจักรวาลหรือกาแล็กซีทุกกาแล็กซี่นั้น ประกอบด้วยภพภูมิต่าง ๆ อีกมากมายคือ ส่วนบนเป็นที่ตั้งของสวรรค์ และ พรหมโลก ส่วนล่าง เป็นที่ตั้งของอบายภูมิ ได้แก่ เปรต อสุรกาย และนรก 456 ขุม ซึ่งภพภูมิเหล่านี้เป็นที่อาศัยของ สิ่งมีชีวิตคล้ายๆ กับโลกมนุษย์เพียงแต่เป็น “ธาตุละเอียด” มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ข้อมูลเหล่า นี้เป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์โดยส่วนใหญ่ไม่ทราบ จึงทำให้การศึกษาจักรวาลเป็นไปอย่างยาก ลำบากเพราะข้อมูลไม่ครบ ถ้าพวกเขารู้ถึงความมีอยู่ของธาตุละเอียดเหล่านี้ ก็จะเป็นข้อมูล ประกอบการพิสูจน์ที่มาของคลื่นวิทยุเหล่านั้นต่อไป นอกจากภพภูมิละเอียดที่ตั้งอยู่ส่วนบนและส่วนล่างของกาแล็กซีแล้ว ในโลกมนุษย์ ของเราเองก็ยังมีภพภูมิละเอียดซ้อนอยู่เหมือนกัน เช่น ภพของชาวลับแล, ภพของภุมมเทวา, รุกขเทววา, อากาศเทวา และภพของพวกสัมภเวสีหรือผีสางต่าง ๆ เป็นต้น หากถามว่าเพราะ เหตุใดภพภูมิต่าง ๆ จึงซ้อนทับกันอยู่ในโลกของเราได้ คำถามนี้ตอบได้ว่าภพที่ซ้อนกันนี้มี ความละเอียดต่างกันจึงซ้อนกันได้เปรียบเสมือนคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์ที่มีความถี่ต่างกันสามารถ อยู่รวมกันในโลกได้ อยู่รวมกันในบ้านของเราได้โดยไม่ปนกัน เมื่อเราหมุนเครื่องรับวิทยุหรือ โทรทัศน์ให้ตรงกับคลื่นที่เราต้องการ ก็สามารถเปิดรับชมรายการต่าง ๆ ที่ส่งมากับคลื่นนั้น ๆ ได้โดยที่คลื่นความถี่อื่นๆ ไม่แทรก 3) ความสอดคล้องกันเรื่องเวลา จากการเสนอทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ใน ค.ศ. 1915 (พ.ศ.2458) ทำให้ วงการวิทยาศาสตร์รู้ความจริงว่า เวลาในตำแหน่งต่าง ๆ ของจักรวาลและเอกภพไม่เท่ากัน ซึ่ง ความจริงเรื่องเวลานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้กว่า 2,500 ปีแล้วว่า เวลาแต่ละภพภูมิไม่ เท่ากัน เวลาบนสวรรค์ เวลาในมหานรก และเวลาบนโลกมนุษย์เป็นต้นไม่เท่ากัน โดยเฉพาะ เวลาในมหานรกนั้นจะช้ากว่าเวลาบนโลกมนุษย์มากหลายล้านเท่าดังตารางต่อไปนี้ มีผู้อธิบายเรื่องความไม่เท่ากันของเวลาในแต่ละภพภูมิทั้ง 31 ภพ ไว้น่าสนใจว่า ถ้า เปรียบภพภูมิเป็นอาคารสูง อาคารนี้จะมี 31 ชั้น อาคารนี้จะมืดสนิทไปทั้งอาคาร มีเพียง ดาดฟ้าซึ่งสว่างไสวเปรียบเสมือนนิพพาน นาฬิกาในแต่ละชั้นก็เดินด้วยความเร็วไม่เท่ากัน 294 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More