ข้อความต้นฉบับในหน้า
บาลีเป็นภาษาชาวบ้าน เป็นภาษาพื้นฐานที่ชาวมคธโดยทั่วไปใช้พูดกัน แม้พวกพราหมณ์ก็
สามารถพูดได้ ส่วนภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ซึ่งมีผู้ใช้น้อย
คัมภีร์สันสกฤตถือกันว่าเป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่สาธารณะแก่ชนทั่วไปสงวนไว้เฉพาะพวก
พราหมณ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ภาษาสันสกฤตจึงไม่แพร่หลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงใช้ภาษาบาลี
ซึ่งเป็ภาษาถิ่นของแคว้นมคธ เป็นภาษาหลักในการเล่าเรียนและเทศน์สอนพระธรรมวินัย
ในสมัยพุทธกาลแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสารถือว่าเป็นมหาอำนาจ มีความเข้มแข็ง
กว่าแคว้นอื่น ๆ ทั้งด้านการทหาร เศรษฐกิจ และศาสนา มีเศรษฐีและเหล่านักบวชมากมาย
หลายลัทธิ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้ว่าภาษาบาลีของชาวมคธนั้น จะมีความแพร่หลายกว่าภาษา
ท้องถิ่นของแคว้นอื่น คล้ายกับภาษาอังกฤษในปัจจุบัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเลือก
ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธก่อนแคว้นอื่น และทรงเลือกภาษาบาลีของชาวมคธ
เป็นภาษากลางในการเล่าเรียนและเผยแผ่พุทธธรรม
อย่างไรก็ตามเนื่องจากอินเดียในสมัยพุทธกาลนั้นกว้างใหญ่ไพศาล จึงทำให้มีภาษา
ท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไปนับร้อย ๆ ภาษา เป็นไปได้อย่างมากที่ชาวบ้านหลายท้องถิ่นไม่
สามารถพูดภาษาบาลีของชาวมคธได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีปรากฏหลักฐานว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงห้ามภิกษุเทศน์สอนด้วยภาษาท้องถิ่นอื่นๆ นอกจากภาษาสันสกฤตของพวกพราหมณ์
ตรงข้ามพระองค์กลับสอนให้ไม่ยึดติดในภาษาใดภาษาหนึ่งแต่ให้สอนในภาษาที่ชาวท้องถิ่นนั้นๆ
สามารถเข้าใจได้ เพราะทรงมุ่งหมายผู้ฟังคือชาวท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นสำคัญ ดังที่พระพุทธองค์
ตรัสว่า “ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น (ของตน) และ ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอธิบายเรื่อง การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และ การไม่ละเลยคำ
พูดสามัญว่า ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า “ปาติ” บางท้องถิ่น
รู้จักกันว่า “ปัตตะ” บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า “ปิฏฐะ” บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า “สราวะ” บาง
ท้องถิ่นรู้จักกันว่า “หโรสะ” บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า “โปณะ” บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า “หนะ” บาง
ท้องถิ่นรู้จักกันว่า “ปิปิละ” ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นๆ จะรู้จัก
ภาชนะนั้นได้ว่า “ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้” ในเวลาแสดงธรรมก็เช่น
กันก็ต้องแสดงในภาษาที่คนในท้องถิ่นนั้น ๆ เข้าใจได้
นอกจากนี้ในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงเทศน์สอนใครคนใดคนหนึ่ง พระองค์ก็เลือกใช้
คำพูด เลือกเรื่องสนทนา ที่ผู้ฟังมีพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว เช่น พราหมณ์มีความรู้และสนใจเรื่อง
1 อรณวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มจร.เล่ม 14 ข้อ 332 หน้า 396-401.
บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
DOU 247