ห้าขั้นแห่งการสร้างความคิด GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 296
หน้าที่ 296 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวทางในการค้นพบและสร้างความคิดใหม่ ขอสรุปเป็นห้าขั้น ได้แก่ 1) คิดรวบรวมข้อมูล 2) กระบวนการใช้วัตถุดิบ 3) ทำใจให้ว่าง 4) ยูรีกา 5) วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญของสมาธิในกระบวนการคิด. ปัญญาสามารถถูกค้นพบได้ด้วยการฝึกให้จิตใจทำงานอย่างมีระเบียบและสงบ และมีแนวทางที่นำมาใช้ในวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ.

หัวข้อประเด็น

-หลักการทำสมาธิ
-การค้นพบทางวิทยาศาสตร์
-การสร้างความคิดใหม่
-กระบวนการคิดที่สมดุล
-การใช้สมาธิเพื่อแก้ปัญหา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แก้ปัญหาอย่างไร พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยก็สอนเช่นเดียวกันว่า เวลาคิดอะไรไม่ออก ก็ให้ออกจากความคิด ทำจิตให้สงบแล้วจะพบทางออก 10.5 สมาธิกับการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ ในวงการวิทยาศาสตร์จะแสวงหาความรู้โดยใช้ สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา เป็นหลัก แต่มีข้อน่าสังเกตคือ นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ค้นพบกฎและทฤษฎีสำคัญๆ นั้นส่วนใหญ่ อาศัยสมาธิช่วยทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ไม่ว่าจะเป็นไอน์สไตน์ และ นิวตัน แม้นักวิทยาศาสตร์ เหล่านั้นจะไม่ได้นั่งสมาธิกันอย่างจริงจังเหมือนกับนักปฏิบัติธรรมก็ตาม ด้วยเหตุนี้ จึงส์ (Jungs.1963) จึงสรุปถึงขั้นตอนการค้นพบทฤษฎีหรือแนวคิดดีๆ ของนักวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ภายใต้ชื่อว่า “ห้าขั้นแห่งการสร้างความคิด” ดังนี้ 10.5.1 ห้าขั้นแห่งการสร้างความคิด 1) คิดรวบรวมข้อมูล หมายถึง การใช้ใจคิดรวบรวมวัตถุดิบต่าง ๆ คิดถึงข้อมูลต่าง ๆ ทุก อย่างที่เรากระทำอย่างกระตือรือร้น คิดให้ข้อมูลเหล่านั้นหลั่งไหลเข้ามาสู่ใจของเรา 2) กระบวนการใช้วัตถุดิบ หมายถึง การคิดถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมอยู่ในใจครั้งแล้ว ครั้งเล่า แล้วนำมาเปรียบเทียบกับความคิดอันอื่นที่เรารวบรวมอยู่ในใจ หากสมองเหนื่อยก็ให้ หยุดพักไว้ชั่วคราว 3) ทำใจให้ว่าง หมายถึง การหยุดคิดแล้วทำจิตใจให้ว่าง ลืมปัญหาต่าง ๆ แล้วหันเหความ สนใจไปยังสิ่งอื่น ๆ ปล่อยให้จิตใต้สำนึกของกลไกความคิดทำงานของมันต่อไป 4) ยูรีกา หมายถึง ขั้นเกิดความคิดแวบเข้ามา บางครั้งความคิดอาจหลั่งไหลเข้ามาโดย ไม่คาดฝัน อาจเป็นเวลาไหนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในตอนเราครึ่งหลับครึ่งตื่นในตอนเช้า เรียกขั้นนี้ว่า ยูรีกา แปลว่า ข้าพเจ้าได้พบแล้ว หรือได้ตัวแล้ว 5) วิพากษ์วิจารณ์ หมายถึง การให้คนอื่นช่วยวิพากษ์วิจารณ์ความคิดใหม่ที่คิดได้ แล้ว พยายามจัดความคิดนั้นให้เป็นรูปร่าง เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะเห็นว่าห้าขั้นแห่งการสร้างความคิดนี้ มีขั้นตอนที่เกี่ยวกับการทำสมาธิด้วยคือ ขั้น ทำใจให้ว่าง หยุดการใช้ความคิด และยูรีกาคือ ขั้นเกิดความคิดแวบเข้ามา ซึ่งสอดคล้องกับ 1 รศ.ดร.อารี พันธ์มณี (2545). “ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์” หน้า 10-11. บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 285
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More