หลักธรรมในการปกครองในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 139
หน้าที่ 139 / 373

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธศาสนา การปกครองมีความสำคัญสูง โดยแบ่งออกเป็นหลักธรรมในการปกครองตนและการปกครองคน หลักธรรมในการปกครองตนคือการปฏิบัติเพื่อสร้างแบบอย่างที่ดี ส่วนการปกครองคนคือการใช้หลักธรรมเพื่อความเรียบร้อยและสามัคคี เช่น สังคหวัตถุ 4 และกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งหลักธรรมเหล่านี้มีบทบาทในการเสริมสร้างความศรัทธาและความสงบสุขในสังคม และเป็นแนวทางการปกครองที่สำคัญในการสืบทอดพระพุทธศาสนาในระยะยาว

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของศีลธรรมในการปกครอง
-หลักธรรมการปกครองตน
-หลักธรรมการปกครองคน
-หลักการปกครองในพระพุทธศาสนา
-การสร้างความสามัคคีในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน ก็มีโอกาสปฏิบัติไม่เหมาะสม สร้างความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธ ศาสนาได้ ซึ่งต้นบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อในพระวินัยปิฎก ล้วนมาจากสาเหตุเหล่านี้ทั้งสิ้น ดัง นั้น พระวินัยจึงเปรียบเสมือนด้ายที่ช่วยร้อยดอกไม้คือภิกษุและภิกษุณี ให้เป็นระเบียบสวยงาม สร้างความศรัทธาให้เกิดแก่ผู้พบเห็น และเป็นเหตุให้ภิกษุและภิกษุณีอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สามารถสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาไปได้ยาวนาน 6.6 หลักธรรมสำคัญในการปกครอง หลักธรรมในการปกครองนั้นมีอยู่ 2 ประเภทคือ หลักธรรมในการปกครองตน และหลัก ธรรมในการปกครองคน หลักธรรมในการปกครองนั้น อาจจะเรียกว่า “หลักศีลธรรม” ก็ได้เพราะ โดยส่วนใหญ่แล้วหลักธรรมในการปกครองนั้นมี “ศีล” รวมอยู่ด้วยแทบทั้งสิ้น เพื่อให้เกิด ความชัดเจนจึงมักเรียกกันว่าหลักศีลธรรม หลักธรรมในการปกครองตน หมายถึง หลักธรรมที่ผู้ปกครองจะต้องปฏิบัติเพื่อ ปกครองดูแลตนเองให้ตั้งอยู่ในธรรมอันดีงามเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีและยังความเลื่อมใสศรัทธาให้ เกิดขึ้นแก่ผู้ที่อยู่ใต้การปกครองของตน หากเป็นการปกครองโดยกษัตริย์จะใช้หลัก “ทศ- พิธราชธรรม” หรือ “กุศลกรรมบถ 10” หากเป็นการปกครองโดยพระเจ้าจักรพรรดิ ก็จะใช้หลัก “จักรวรรดิวัตร” สำหรับจักรวรรดิวัตรนี้จะมีธรรมในการปกครองคนรวมอยู่ในหมวดเดียวกันด้วย แต่ถ้าเป็นการปกครองโดยคณะบุคคล เช่น แคว้นวัชชี ก็จะใช้หลัก “อปริหานิยธรรม” เพื่อให้ผู้ ปกครองเหล่านั้นนำไปปกครองตน และเพื่อหลอมรวมคณะผู้ปกครองทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน หลักธรรมในการปกครองคน หมายถึง หลักธรรมที่ผู้ปกครองจะต้องนำไปใช้ในการ ปกครองคน คือผู้อยู่ภายใต้การปกครองของตน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เจริญรุ่งเรือง และ สมัครสมานสามัคคี ซึ่งจะใช้หลักธรรมดังต่อไปนี้ คือ สังคหวัตถุ 4, อคติ 4, กุศลกรรมบถ 10 และ ศีล 5 เป็นต้น หลักธรรมเหล่านี้ สามารถนำไปใช้ในการปกครองได้ทั้งระบอบกษัตริย์ และ ระบอบที่ปกครองโดยคณะบุคคล 6.6.1 หลักธรรมในการปกครองตน ลำดับขั้นของการปกครองในพระพุทธศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนให้ ปกครองตนก่อนเมื่อปกครองตนเองได้แล้วจึงค่อยปกครองคนอื่น ปกครองหมู่คณะ หรือ ปกครอง ประเทศชาติ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก่อนที่พระองค์จะทรงปกครองพุทธบริษัท พระองค์ ก็ปกครองพระองค์เองด้วยธรรมก่อน 128 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More