ข้อความต้นฉบับในหน้า
กิจวัตรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลากหลายจึงทำให้ภิกษุได้ผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถอยู่เรื่อยๆ กล่าวคือ มีทั้งการนั่งสมาธิ บิณฑบาต เดินจงกรม กวาดลานวัด และนอน
อย่างมีสติคือ สำเร็จสีหไสยาสน์ เป็นต้น โดยเฉพาะการเดินจงกรมนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
ว่าช่วยให้ “อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย และทำให้มีอาพาธน้อย” นอกจากนี้พระภิกษุ
ยังมีการบริหารร่างกายด้วยการ “ดัดกาย” และผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการ “บีบนวด” อีกด้วย
นอกจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอแล้วในแต่อิริยาบถจะต้องมีความถูกต้อง
อีกด้วย จึงจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งการนั่ง เดิน ยืน และนอน ในการนั่งโดยเฉพาะนั่งสมาธินั้น
พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำเสมอว่าจะต้องนั่งให้ “ตัวตรง” ดังพระดำรัสว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้
นั่งคู่บัลลังก์ “ตั้งกายตรง” ดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน...” ส่วนการนอนหรือจำวัดนั้นพระองค์
ตรัสสอนให้นอนแบบราชสีห์คือนอนตะแคงขวา
สาเหตุที่ต้องนอนตะแคงขวาเพราะจากการศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า ท่านอนตะแคงขวาเป็นท่าที่ถูกหลักอนามัยที่สุด เนื่องจาก
ร่างกายจะไม่กดทับหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวกไม่ทำงานหนักจนเกินไป อาหารจากกระเพาะถูก
บีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย
2) รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะในที่นี้คือ การรู้จัก “ความพอดี” เช่นเรื่องอาหารเมื่อ
เราจัดหาอาหารที่ดี มีประโยชน์ได้แล้ว อาหารนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นอาหารสัปปายะ แต่ในเวลา
รับประทานอาหารนั้นเราจะต้องรู้จักประมาณ ต้องรู้จักความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกิน
ไป ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า “ภิกษุ เมื่อฉันอาหารสดก็ตาม แห้งก็ตาม ไม่พึงฉันให้อิ่มเกิน
ไป ไม่พึงฉันให้น้อยเกินไป พึงฉันแต่พอประมาณ จึงมีสติอยู่”
3
6
• จังกมสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มจร. เล่ม 22 ข้อ 29 หน้า 41.
* มหาวิภังค์ วินีตวัตถุ, มก. เล่ม 3 ข้อ 361 หน้า 84-85.
ชราสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 962-963 หน้า 62.
* มหาวิภังค์ ปฐมภาค, มก. เล่ม 2 ข้อ 178 หน้า 257.
* หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (2550). “นอนท่าไหน? ปลอดภัยหลับสนิท.” (ออนไลน์)
ขุททกนิกาย เถรคาถา, มจร. เล่ม 26 ข้อ 982 หน้า 500-501.
บทที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 319