ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.2.3 นิติศาสตร์
1.) ความหมายของนิติศาสตร์
คำว่า นิติ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ขนบธรรมเนียม แบบแผน แต่ในระยะหลัง
วงการกฎหมายไทยเข้าใจว่า นิติ หรือ เนติ แปลว่า กฎหมาย แต่ตามศัพท์ดั้งเดิมของอินเดียแท้ๆ
นิติ แปลว่า ขนบธรรมเนียม เช่น ราชนิติ โลกนิติ ในอินเดียคำว่า นิติศาสตร์จึงหมายถึง วิชา
เกี่ยวกับราชนิติประเพณี เป็นความรู้ที่ราชปุโรหิตจะต้องรู้เพราะปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาราชการ
แผ่นดิน
คำว่านิติศาสตร์ตามความหมายของอินเดียจึงมีความหมายใกล้กับ รัฐศาสตร์ ใน
ภาษาไทยปัจจุบัน เพราะฉะนั้นผู้รู้ทางนิติศาสตร์ของอินเดียจึงหมายถึงผู้ทรงปัญญาที่จะให้
คำแนะนำเรื่องกิจการบ้านเมือง คำที่หมายถึงกฎหมายแท้ๆ ไทยเราแต่เดิมมาเรียกว่า ธรรมะ
เช่น กฎหมายดั้งเดิมของไทยเราเรียกว่า พระธรรมศาสตร์ มิได้เรียกว่า พระนิติศาสตร์คำว่า
พระธรรมศาสตร์ เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในความคิดของคนไทยสมัยก่อน
อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึง “นิติศาสตร์” ในปัจจุบันหมายถึง “วิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย”
กฎหมายนั้นมีอุดมคติที่สำคัญซึ่งเป็นจิตวิญญาณของกฎหมาย 3 ประการ คือ ความยุติธรรม
ความสงบเรียบร้อยของสังคม และความมีประโยชน์สมประสงค์
2.) บ่อเกิดของกฎหมาย
กฎหมายมีบ่อเกิด 2 ประเภท คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้น เช่น พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น และกฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้นได้แก่ กฎหมายประเพณี
หลักกฎหมายทั่วไป และคำพิพากษาของศาล
ก. กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
หมายถึง กฎหมายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนิติบัญญัติ หรือ กฎหมายลายลักษณ์
อักษรที่เป็นบทมาตรา ซึ่งผู้มีอำนาจในการบัญญัติมี 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และ
องค์การอิสระ
(1) กฎหมายนิติบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ พระราช
บัญญัติ (พ.ร.บ.) ซึ่งเป็น กฎหมายแท้ เพราะออกมาโดยฝ่ายที่มีหน้าที่บัญญัติกฎหมายโดยตรง
· ปรีดี เกษมทรัพย์. (2541). “นิติปรัชญา” หน้า 63.
บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ในทางโลก DOU 21