องค์ประกอบของสิกขาบท GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 182
หน้าที่ 182 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับสิกขาบทในพระไตรปิฎกที่มีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ ต้นบัญญัติ, พระบัญญัติ, สิกขาบทวิภังค์และบทภาชนีย์ที่อธิบายถึงความสำคัญและบทบาทในทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างเกี่ยวกับการพิสูจน์ความผิดในกรณีต่าง ๆ และอธิบายถึงโทษปาราชิกสำหรับผู้ที่กระทำผิด ตลอดจนการเยียวยาและการรับรางวัลจากการปฏิบัติที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

- องค์ประกอบของสิกขาบท
- ต้นบัญญัติ
- พระบัญญัติ
- สิกขาบทวิภังค์และบทภาชนีย์
- การเยียวยาและรางวัลในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ท่านจงรีบให้หมอเยียวยามันเสียเถิด บุรุษนั้นบอกว่า ท่านจงเยียวยามันเถิด แพทย์นั้นจึงผ่าสรีระ ของบุรุษนั้นเอายาทาและพอกแล้วบอกว่า โรคใหญ่ของท่าน เราได้เยียวยาแล้ว ท่านจงให้รางวัล แก่เรา บุรุษนั้นจะค่อนขอด คัดค้าน และติเตียนนายแพทย์ว่า หมอโง่นี่พูดอะไร หมอโง่นี้ทำทุกข์ ให้เกิดแก่เรา และทำให้เราต้องเสียเลือดไปมิใช่หรือ แต่ถ้านายแพทย์ผู้ฉลาดเยียวยาหัวฝีที่เกิด ขึ้นแล้วด้วยการผ่าตัดพอกยาและพันแผล ก็จะไม่ถูกค่อนขอดคัดค้านและติเตียน และจะได้ รางวัลตอบแทนเป็นอันมาก 7.4 องค์ประกอบของสิกขาบท สิกขาบทนั้นมีองค์ประกอบ 5 ประการด้วยกันดังนี้ 1.) ต้นบัญญัติ หมายถึง เรื่องเล่าของผู้ที่ประพฤติเสียหายในกรณีต่าง ๆ เป็นรายแรก ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอ้างถึงเพื่อบัญญัติสิกขาบทในข้อต่าง ๆ เช่น พระสุทินน์ เป็นต้นบัญญัติ ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 เป็นต้น 2.) พระบัญญัติ หมายถึง สิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้ ภิกษุล่วงละเมิด มีบทกำหนดโทษหรือปรับอาบัติผู้ล่วงละเมิด ถ้าเป็นการบัญญัติสิกขาบทในครั้งแรกเรียกว่า “มูลบัญญัติ” ส่วนการบัญญัติเพิ่มเติม ในภายหลังเพื่อให้รัดกุมมากขึ้นเรียกว่า “อนุบัญญัติ” ดังตัวอย่างต่อไปนี้ มูลบัญญัติของปาราชิกสิกขาบทที่ 3 ว่า “ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือ แสวงหาศัสตราอันจะพรากกายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้เป็นปาราชิก” หาสังวาสมิได้” อนุบัญญัติของปาราชิกสิกขาบทที่ 3 ว่า “อนึ่งภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะพรากกายมนุษย์นั้น พูดพรรณนาคุณความตายหรือชักชวนเพื่อให้ ตายว่า ท่านผู้เจริญจะมีชีวิตลำบากยากเข็ญนี้ไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีดำริในใจอย่างนี้ พูดพรรณนาคุณความตายหรือชักชวนเพื่อความตายโดยประการต่างๆ แม้ ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้” 3.) สิกขาบทวิภังค์และบทภาชนีย์ คำว่า สิกขาบทวิภังค์ หมายถึง การจำแนกความ สิกขาบท เป็นการอธิบายความหมายของศัพท์หรือข้อความในพระบัญญัติ เช่น ในสิกขาบทวิภังค์ 1 ปาราชิก หมายถึง โทษหนักที่สุดทางพระวินัย ภิกษุใดกระทำความผิดต้องโทษปาราชิกแล้ว จะขาดจากความ เป็นพระภิกษุทันทีที่กระทำความผิดนั้น ไม่ว่าผู้อื่นจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม และห้ามบวชใหม่ตลอดชีวิต เปรียบเหมือน โทษประหารชีวิตทางโลก บทที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ใน พระไตรปิฎก DOU 171
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More