หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 257
หน้าที่ 257 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจหลักการแสดงธรรมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามพระไตรปิฎก โดยเน้นการทำให้ผู้ฟังเข้าใจและเลื่อมใส มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และคำสอนยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสื่อประกอบการบรรยาย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การสอนที่ดีนั้นไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้ที่ครูคิดว่าจำเป็น แต่ต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก, ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานที่พระพุทธองค์ได้สอนมาเสมอ นอกเหนือจากการเลือกภาษาสอนธรรมให้เหมาะสมยังมีการใช้ตัวอย่างและคำอุปมาอุปไมยที่ช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น. มีการบอกถึงความสำคัญของการเน้นย้ำว่าการสื่อสารที่ดีต้องคำนึงถึงผู้ฟังเป็นหลัก

หัวข้อประเด็น

-หลักการแสดงธรรม
-ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-การสื่อสารที่มีคุณภาพ
-การสอนที่ยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง
-การเลือกใช้ภาษาในการสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9.6 หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประสิทธิภาพ (Efficiently) โดยทั่วไปหมายถึง การทำงานให้สำเร็จโดยใช้ทรัพยากรน้อย ที่สุด ทรัพยากรในที่นี้ คือ ทุน เวลา แรงงาน อุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ประสิทธิผล (Effectively) หมายถึง การทำงานได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดย เฉพาะการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หมายถึง การแสดงธรรมให้สำเร็จผล คือ ผู้ฟังเข้าใจเลื่อมใสศรัทธา หรือบรรลุธรรม โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอดี กล่าวคือ ไม่มากไปและไม่ น้อยไป ไม่ขาดและไม่เกิน ได้แก่ เนื้อหามีความพอดี เวลาที่ใช้ก็พอดี เป็นต้น ซึ่งความพอดีนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ฟัง กล่าวคือ หากผู้ฟังมีปัญญามากเพียงแค่ได้ฟังธรรมโดยย่อก็เพียงพอแก่การ บรรลุธรรมแล้ว หากผู้ฟังมีปัญญาน้อยก็ต้องฟังธรรมโดยพิสดารจึงจะเข้าใจธรรมนั้นได้เป็นต้น การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดังกล่าว มานี้นอกเหนือจากอาศัยหลักการพื้นฐานคือวาจาสุภาษิตและองค์แห่งธรรมกถึกที่กล่าวมาแล้ว พระพุทธองค์ยังมีหลักการสำคัญอีกอย่างน้อย 4 ประการทำให้การแสดงธรรมแต่ละครั้งมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ ทรงเทศน์สอนโดยยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง ใช้การอุปมาอุปไมย ใช้สื่อประกอบการบรรยาย และทรงเน้นเทศน์สอนโดยยกหลักการและตัวอย่างประกอบดังนี้ 9.6.1 เทศน์สอนโดยยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง ในปัจจุบันคำว่ายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง หรือ ยึดผู้เรียนเป็น สำคัญ ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Child Center” นั้นได้รับการกล่าวถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพบว่าการเรียนการสอนแบบเดิมที่ครูอาจารย์มักจะยัดเยียดความรู้ให้เด็ก ตนรู้อะไรก็อยาก จะให้เด็กได้รู้เหมือนตน โดยไม่สนใจว่าเด็กเป็นอย่างไร เด็กสนใจอะไร ไม่สอน ให้สอดคล้อง กับความสนใจของผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนไม่สบความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น การสอน โดยคำนึงถึงพื้นฐานผู้เรียนเป็นหลัก และต่อยอดให้ความรู้เพิ่มได้ผลดีกว่า อันที่จริงหลัก Child Center นี้ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่แต่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงใช้ หลักนี้เช่นเดียวกัน โดยมีข้อสังเกต 2 ประการ คือ การเลือกใช้ภาษาสอนธรรม และการเทศน์ สอนโดยยึดตามจริตของผู้ฟัง 1.) การเลือกใช้ภาษาสอนธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนธรรมด้วยภาษาบาลีเป็นหลักไม่ใช้สันสกฤตเพราะภาษา 246 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More