ความเข้าใจเกี่ยวกับเสมหะ ลม และอาพาธ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 335
หน้าที่ 335 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สัมผัสถึงความสำคัญของเสมหะซึ่งช่วยดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ในท้อง และบทบาทของลมในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วย รายละเอียดต่างๆ ของอาพาธที่เกิดจากการรวมกันของดี เสมหะ และลม รวมถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากฤดูแปรปรวน การบริหารร่างกายผิดปกติ การถูกทำร้าย และวิบากกรรม เพื่อให้เข้าใจสาเหตุและปัจจัยในการเจ็บป่วย

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของเสมหะ
-ความหมายของลม
-สาเหตุของอาพาธ
-ผลกระทบของสภาพอากาศ
-การบริหารร่างกายที่ไม่เหมาะสม
-วิบากกรรมและการเจ็บป่วย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คำว่า “เสมหะ” มาจากภาษาบาลีว่า “เสมุห์” แปลว่า “เสลด” ซึ่งเป็นธาตุน้ำเช่นกัน ในร่างกายของเรามีเสมหะอยู่ประมาณหนึ่งบาตร มีสีขาว มีสีเหมือนน้ำในผลมะเดื่อ ตั้งอยู่ ในท้อง ปกติพื้นท้องของเราจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ เสมหะจะช่วยระงับกลิ่นเหม็นให้อยู่ ภายในท้องเปรียบเหมือนแผ่นกระดานปิดส้วม คำว่า “ลม” ในที่นี้หมายถึง ธาตุลมภายในร่างกาย ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลง เบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นต้น เมื่อโรค ลมเกิดขึ้นในร่างกาย ย่อมทำให้มือและเท้าอ่อนแรง ย่อมทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้เป็นคน ง่อยเปลี้ย โรคลมนี้หากเป็นหนักก็จะทำให้ถึงตายได้ เช่น พระเถระรูปหนึ่งลมเสียดแทงถึงหัวใจ และเสียดแทงท้องทะลุออกมา ไส้ของท่านก็ออกมากองบนเตียง ในขณะอาพาธอยู่นั้นพระเถระ ได้ประกอบความเพียร จึงบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา อาพาธที่เกิดจาก “ดี, เสมหะ, ลม ประชุมกัน” ถ้าแปลตรงตัวตามภาษาบาลีจะแปลว่า “อาพาธสันนิบาต” หมายถึง อาพาธที่เกิดขึ้นเพราะลม ดี และเสมหะรวมกัน อาพาธที่เกิดขึ้นเพราะฤดูแปรปรวน “ฤดู” ในที่นี้หมายถึง “สภาพอากาศ” เมื่อ สภาพอากาศแปรปรวน เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้ อาพาธที่เกิดจากการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ หมายถึง การอยู่ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่งนานเกินไป เช่น ยืนนานเกินไป หรือ นั่งนานเกินไป เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้ อาพาธที่เกิดจากการถูกทำร้าย หมายถึง อาพาธที่เกิดเพราะความพยายาม เบียดเบียนของผู้อื่น เช่น การฆ่าฟัน การทุบตี การชกต่อย ถูกสัตว์ทำร้าย เป็นพยาธิ เป็นโรค ติดเชื้อ เป็นต้น อาพาธอันเกิดจากวิบากกรรม หมายถึง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากบาปกรรมที่ทำไว้ใน ปัจจุบันชาติหรือในอดีตชาติมาส่งผล เช่น ในอดีตชาติทำปาณาติบาตไว้มาก บาปกรรมนั้นจึง ส่งผลให้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในชาตินี้ เป็นต้น จากที่กล่าวในบทที่ 5 แล้วว่า กรรมคือการกระทำโดยเจตนา ประกอบด้วยกรรมทาง กาย วาจา และใจ เมื่อเราทำกรรมแล้ว หากเป็นกรรมดีก็จะเกิดบุญขึ้นและจะถูกเก็บไว้ในใจ ปิตต์ ดี ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ, มก. เล่ม 39 หน้า 77. * สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค, มก. เล่ม 27 หน้า 194. * อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร, สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 14 หน้า 311. 324 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More