ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทัศนะนี้ยังรวมเอาปัจจัยหรือเงื่อนไขด้านสังคม วัฒนธรรม และ นิเวศวิทยาเข้าไว้ด้วย
สาเหตุของโรค อาจจะเกิดจากเงื่อนไข ทางร่างกาย จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และระบบนิเวศน์ที่
ไม่สมดุล ดังนั้นการบำบัดโรคและรักษาคนไข้ จะต้องคำนึงถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
วัฒนธรรม และนิเวศวิทยาเข้ามาเชื่อมโยงด้วย จึงเป็นต้นเหตุให้เกิดศาสตร์สาขาต่าง ๆ สัมพันธ์
กับการแพทย์ เช่น สังคมวิทยาการแพทย์ มนุษยวิทยาการแพทย์ เศรษฐศาสตร์การแพทย์ และ
จริยศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นต้น
โดยสรุปมุมมองของทัศนะนี้เน้นองค์รวมครอบคลุมแทบทุกด้าน เชื่อมโยงประสาน
เหตุปัจจัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหาสุขภาพของชีวิตทั้งระบบ ดังนั้น
ทัศนะนี้จึงเน้นความสัมพันธ์การแพทย์เชื่อมโยงกับปัญหาจริยธรรม สังคมและวัฒนธรรมทั้ง
ระบบ
3.) การแพทย์ทางเลือก
คำว่า “ทางเลือก” หมายถึง เป็นทางอีกทางหนึ่ง ที่นำมาเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ
ส่วนทางหลักคือทางที่คนส่วนใหญ่ใช้กันความหมายของการแพทย์ทางเลือกมีความแตกต่าง
กันไปตามเวลาและสถานที่ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือก คือ การแพทย์
ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์อื่นๆ
ที่เหลือถือเป็นการแพทย์ทางเลือกทั้งหมด
หน่วยงานของ National Center of Complementary And Alternative Medicine (NCCAM)
ในสหรัฐอเมริกา ได้จำแนกการแพทย์ทางเลือกออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
(1) Alternative Medical Systems คือ การแพทย์ทางเลือกที่มีวิธีการตรวจรักษาวินิจฉัย
และการบำบัดรักษาหลากหลายวิธีการ ทั้งด้านการให้ยา การใช้เครื่องมือมาช่วยในการบำบัด
รักษาและหัตถการต่าง ๆ เช่น การแพทย์แผนโบราณของจีน (Traditional Chinese Medicine)
การแพทย์แบบอายุรเวชของอินเดีย เป็นต้น
1 ผช.ดร.ประจิตร มหาหิง การผสมผสานระหว่างจริยธรรมการแพทย์และวัฒนธรรม เอกสารการประชุมวิชา
การเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาส
ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบนักษัตร “การแพทย์ วัฒนธรรมและจริยธรรม” จัดโดย ม.มหิดล และ ม.สงขลา-
นครินทร์ วันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค.2538 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร หน้า 49-51.
บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ใ น ท า ง โ ล ก DOU 39