ข้อความต้นฉบับในหน้า
4. อปริหานิยธรรม
อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม 7 ประการ จะทำให้เกิดความเจริญ
ฝ่ายเดียว เป็นหลักที่จะสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ สำหรับ
คฤหัสถ์ และ สำหรับบรรพชิต ทั้ง 2 ประเภทนี้ มีความใกล้เคียงกันมาก ต่างกันเพียงบางข้อ
ตามภาวะของเพศคฤหัสถ์และบรรพชิต ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะธรรมสำหรับคฤหัสถ์เท่านั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอปริหานิยธรรมสำหรับคฤหัสถ์แก่เจ้าลิจฉวี ผู้ปกครอง
แคว้นวัชชี ณ สารินททเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าวัชชีทั้งหลายที่เป็น
คณะผู้ปกครองนำไปเป็นหลักปกครองตน ตนในที่นี้คือคณะผู้ปกครองทั้งคณะ ซึ่งต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ประชุมกันเนืองๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลทั่วถึงกัน
ๆ
(2) พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
(3) ไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว สมาทานวัชชี
ธรรมแบบโบราณ ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่
(4) สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าและเชื่อถือถ้อยคำที่ควรฟังของผู้ใหญ่
ผู้เฒ่าเหล่านั้น เพราะเมื่อมีความเคารพ ผู้เฒ่าก็จะเมตตาแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้
(5) ไม่ฉุด คร่า ข่มเหง กักขัง กุลสตรีทั้งหลาย และ กุมารีของสกุลทั้งหลาย เพราะจะ
ทำให้ประชาชนโกรธแค้นและต่อต้านผู้ปกครอง
(6) สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ ทั้งภายในและภายนอกพระนครและไม่ลด
เครื่องสักการะที่เคยถวายแล้วแก่เจดีย์เหล่านั้น เพื่อให้เทวดาที่รักษาเจดีย์พึงพอใจและช่วย
คุ้มครองรักษาบ้านเมือง
(7) จัดอารักขา ป้องกัน และคุ้มครอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่าทำอย่างไร
พระอรหันต์ที่ยังไม่มาพึ่งมาสู่แคว้น ทำอย่างไรพระอรหันต์ที่มาแล้วขอให้อยู่สบาย ทั้งนี้ก็เพื่อ
เป็นเนื้อนาบุญให้แก่ชาววัชชีทั้งหลาย
วัชชีธรรมโบราณ หมายถึง ธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมด้านการปกครองของแคว้นวัชชี
ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ดี ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รักษาวัชชีธรรม
โบราณนี้ไว้อย่างเดิม ไม่ให้บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว เช่น ไม่
132 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก