การกำเนิดรัฐและศีลธรรมในสังคมมนุษย์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 134
หน้าที่ 134 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดรัฐจากอัคคัญญสูตรที่กล่าวถึงชีวิตมนุษย์ยุคแรก การจัดระเบียบสังคม และการควบคุมกิเลสเพื่อความสงบเรียบร้อย โดยอธิบายถึงวิวัฒนาการทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการทำอกุศลกรรม ความต้องการในทรัพย์สินส่วนบุคคล และกฎระเบียบที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้แต่ยังคงมีการแบ่งปันอาหารอย่างเปิดเผย ซึ่งโดยรวมแสดงให้เห็นถึงการสร้างความเป็นระเบียบและความยุติธรรมในสังคมมนุษย์ยุคแรก. เนื้อหาเกี่ยวกับการวางระบบเพื่อควบคุมวิถีชีวิตและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นยังไม่มีพระวินัย เนื่องจากมีกฎเกณฑ์จากความรู้สึกที่ถูกต้องของแต่ละคน..

หัวข้อประเด็น

-การเกิดรัฐ
-ศีลธรรมในสังคม
-มนุษย์ยุคแรก
-การควบคุมกิเลส
-วิวัฒนาการทางสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หล่อเลี้ยงแก่นคือศีลธรรมให้เจริญเติบโต เศรษฐกิจที่ดีจะเป็นฐานให้คนประพฤติศีลธรรมได้ สะดวก ส่วนศีลธรรมจะควบคุมและกำจัดกิเลสของมนุษย์ให้เบาบางลงและหมดไปในที่สุด 6.2 การกำเนิดรัฐ จากเนื้อหาของอัคคัญญสูตรในบทที่ 5 ได้กล่าวถึง การเกิดขึ้นของมนุษย์ยุคแรก ความ เป็นอยู่ในสังคมของมนุษย์ การเกิดขึ้นของสถาบันครอบครัว ความเป็นมาของอาชีพและ ประเภทของคนในสังคม คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และสมณะ ที่สำคัญได้กล่าวถึง ความคิดทางการเมือง และ สถาบันทางการเมืองด้วย พระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า ระบบระเบียบแบบแผนความเป็นอยู่ต่าง ๆ มีการ วิวัฒนาการมาเป็นลำดับ โดยเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำอกุศลกรรมของมนุษย์ อัน เป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมและคนในสังคมได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากในยุคแรกที่มนุษย์ จุติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาอาศัยบนโลก มนุษย์อาศัยอยู่กันอย่างสงบสุข แต่ละคนรู้ว่าสิ่ง ใดควร สิ่งใดไม่ควร ไม่มีการทำอกุศลธรรมใด ๆ จึงไม่จำเป็นต้องมีการวางกฎระเบียบต่างๆ ขึ้น บังคับผู้คนในสังคมแต่อย่างใด คล้ายๆกับความเป็นอยู่ของพระอริยสงฆ์ในช่วงปฐมโพธิกาล ซึ่งไม่มีการบัญญัติพระวินัยเพื่อให้พระภิกษุปฏิบัติตาม เพราะพระอริยเจ้าแต่ละท่านรู้ว่า สิ่งใด ควร สิ่งใดไม่ควร สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว ไม่มีการทำผิดศีลธรรมใดๆ จึงยังไม่จำเป็นต้องบัญญัติพระ วินย มนุษย์ยุคแรกอาศัยรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ทำมาหากินร่วมกันคือ อาหารเป็นของกลาง ซึ่งมีอยู่เหลือเฟือในธรรมชาติ เป็นประดุจสมบัติจักรพรรดิตักไม่พร่อง แต่เพราะกิเลสคือความ เกียจคร้านและความโลภ เป็นเหตุให้มนุษย์ทำการสะสมอาหารคือข้าวสาลี ต่างคนต่างเก็บมา สะสมจนเกินความจำเป็น จึงทำให้ข้าวสาลีงอกขึ้นไม่ทัน บางแห่งก็ไม่งอกอีกเลย มนุษย์ยุคนั้น จึงประชุมกันและตกลงปักปันเขตแดนกันขึ้น ทำให้เกิดทรัพย์สินส่วนตัวขึ้นมาเป็นครั้งแรก แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีปัญหาตามมาเมื่อมีมนุษย์บางจำพวกไม่ทำตามกติกาหรือกฎ ระเบียบที่ตกลงกันไว้ คือ สงวนส่วนของตนไว้แล้วไปลักขโมยข้าวสาลีในเขตแดนของผู้อื่น เพราะความโลภ เมื่อมีการทำบ่อยครั้งเข้าจึงทำให้คนในสังคมเดือดร้อน จนถึงขนาดมีการ ทุบตีกันเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีการปรึกษากันว่าควรมีใครสักคนหนึ่ง ที่มีหน้าที่ดูแลความสงบ เรียบร้อยของสังคม คอยว่ากล่าวตักเตือน มีอำนาจลงโทษผู้ที่ทำอกุศลกรรมเหล่านี้ และผู้นั้น จะได้รับส่วนแบ่งข้าวสาลีจากทุกๆ ครอบครัวในสังคม โดยไม่ต้องเก็บเกี่ยวข้าวสาลีเอง ซึ่ง บทที่ 6 รัฐ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 123
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More