ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้ให้ภาพรวมหลัก
ธรรมสำคัญในพระไตรปิฎกไว้อย่างชัดเจน ดังภาพที่แสดงไว้ในหน้าที่ผ่านมา จะเห็นว่าหลัก
ธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎก มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติบรรลุ “นิพพาน” อันเป็นเป้าหมาย
สูงสุดของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
สำหรับหลักธรรมต่างๆ ในพระไตรปิฎกอันเป็นหลักปฏิบัติเพื่อไปสู่นิพพานนั้น เป็น
หลักธรรมที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทุกหมวดไม่มีความขัดแย้งกันสามารถย่อได้และขยายได้
หากย่อจนถึงที่สุดก็จะเหลือเพียงข้อเดียวคือ “ความไม่ประมาท” หากขยายความแล้วก็จะได้
มากถึง “84,000 ข้อ หรือ พระธรรมขันธ์” แบ่งเป็นพระวินัย 21,000 ข้อ พระสูตร 21,000
ข้อ และพระอภิธรรม 42,000 ข้อ
นอกจากนี้ หลักธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎกอาจจะแบ่งให้เหลือ 3 ข้อก็ได้ คือ ละชั่ว
ทำดี และทำใจให้ผ่องใส หลักธรรม 3 ข้อนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา
จิตสิกขา และปัญญาสิกขา หากจะขยายจาก 3 ข้อนี้ ให้เป็น 8 ข้อ ก็ได้เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 อัน
ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ โดยสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ จัดอยู่ในปัญญาสิกขา สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ จัดอยู่ในศีลสิกขา สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ
จัดอยู่ในจิตสิกขา
หลักธรรมในแต่ละหมวดมีรายละเอียดโดยย่อดังต่อไปนี้
4.2 นิพพาน
นิพพาน หมายถึง การดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง นิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุดของ
มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแบ่งนิพพานออกเป็น 2 ประการ คือ
สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน
1) สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เป็นผู้มีราคะ โทสะ และโมหะสูญสิ้นแล้ว แต่ยังเป็นผู้เสวย
อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ 5 ยังไม่บุบสลาย
พระเดชพระคุณภาวนาวิริยคุณ อธิบายสอุปาทิเสสนิพพานไว้ว่า เป็นพระนิพพานในตัว
1
ธาตุสูตร, ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 หน้า 304.
บทที่ 4 หลัก ธ ร ร ม สำคัญในพระไตรปิฎก DOU 69