เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 210
หน้าที่ 210 / 373

สรุปเนื้อหา

เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกเน้นการมีบุญเป็นศูนย์กลาง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความสุขและความสำเร็จในชีวิต การปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจเช่น หาทรัพย์ เก็บทรัพย์ และสร้างเครือข่ายกับคนดี จะช่วยให้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รัฐบาลควรส่งเสริมความเข้าใจเรื่องบุญควบคู่ไปกับหลักเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน นักศึกษาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกและเข้าใจจุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์แบบโลก.

หัวข้อประเด็น

-เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
-บุญและความสุข
-หลักหัวใจเศรษฐี
-การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นเศรษฐศาสตร์แบบ “มีบุญเป็นศูนย์กลาง” กล่าวคือ สอนว่าบุญเป็นปัจจัยหลักแห่งความสุขความสำเร็จของมนุษย์ ส่วนปัจจัยเสริมคือ “หลักหัวใจเศรษฐี” ได้แก่ หาทรัพย์เป็น, เก็บทรัพย์เป็น, สร้างเครือข่ายคนดีเป็น และใช้ชีวิต เป็น เมื่อบุคคลแต่ละคนได้สั่งสมบุญอันเป็นอริยทรัพย์ ได้แก่ การบริจาคทาน เป็นต้น ควบคู่ ไปกับการปฏิบัติตามหลักหัวใจเศรษฐีนี้ ก็จะส่งผลให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี 2. ส่วนเศรษฐกิจในระดับประเทศนั้น หากรัฐบาลส่งเสริมประชาชนให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องบุญและสั่งสมบุญควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักหัวใจ เศรษฐี แล้วจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีและเติบโตอย่างมั่นคง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก ทั้งใน ระดับบุคคลและระดับประเทศ 2. เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงจุดอ่อนของหลักเศรษฐศาสตร์ทางโลก รวมทั้ง แนวทางแก้ไขตามหลักการในพระไตรปิฎก บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 199
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More