ความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมนต์และการสวดพระปริตร GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 319
หน้าที่ 319 / 373

สรุปเนื้อหา

เรื่องเล่านี้กล่าวถึงภาพที่มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับพลังทางจิตวิญญาณ และเหตุการณ์ในเมืองไพศาลีสมัยพุทธกาล ที่เมืองประสบภัยสามประการทำให้เกิดความตายเป็นจำนวนมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพระบัญชาให้พระอานนท์ทำพระปริตรขับไล่อมนุษย์และรักษาผู้ป่วยด้วยน้ำมนต์ที่เกิดจากการสวดพระปริตร การสวดพระปริตรนี้ยังคงเป็นประเพณีที่ชาวพุทธสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยน้ำมนต์มีความศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาโรคและขจัดภัยต่าง ๆ ผู้คนจึงมีความเชื่อมั่นในพลังแห่งพระพุทธคุณ.

หัวข้อประเด็น

-พลังจิตวิญญาณ
-การสวดพระปริตร
-ความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมนต์
-ประเพณีชาวพุทธ
-เหตุการณ์ในเมืองไพศาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่ภายใน เปล่งรัศมีเป็นประกายสว่างไสว มีรูปพระจันทร์ครึ่งดวงที่ตรงกลางและ ดูเหมือนจะมีรัศมีล้อมรอบด้วยผู้คนต่างก็พูดว่าภาพนี้ทำให้เขารู้สึกถึงพลังอำนาจและพลังงานอัน มากมายในจิตวิญญาณที่มีอยู่ในจิตสำนึกของคน จากเรื่องนี้ทำให้ย้อนนึกไปถึงเหตุการณ์หนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่เมืองไพศาลี เกิดภัย 3 ประการ คือ ภัยจากการขาดอาหาร ภัยจากอมนุษย์เบียดเบียน และภัยจากอหิวาตกโรค ทำให้มนุษย์ในเมืองนี้ล้มตายลงจำนวนมาก ทั่วเมืองไพศาลี ในครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสั่งให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตรแล้วทำพระปริตรให้ พระเถระเรียนรัตนสูตรแล้วเอาบาตรตักน้ำแล้วยืนอยู่ที่ประตูพระนครระลึกถึง พระพุทธคุณ แล้วเข้าไปยังพระนครเที่ยวทำพระปริตรทั่วทั้งเมืองด้วยคาถาว่า “ยงกิญจิ” ฯลฯ พร้อมกับพรมน้ำไปยังสถานที่ต่างๆ ขับไล่อมนุษย์ทั้งหลายให้หนีไปจนหมด เมื่อพระเถระกล่าว คาถาว่า “ยานีธ ภูตานิ” ฯลฯ หยาดน้ำเป็นราวกะว่าเทริดเงินพุ่งขึ้นในอากาศ แล้วตกลงเบื้อง บนพวกมนุษย์ที่อาพาธทำให้หายจากโรคในทันใดนั่นเอง เหตุการณ์นี้เป็นที่มาของ “การสวดพระปริตรและทำน้ำมนต์” ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวพุทธ ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันจึงไม่ต้องแปลกใจว่าเหตุใดน้ำมนต์ที่พระผู้ปฏิบัติ ดีปฏิบัติชอบได้จัดทำขึ้นจากการสวดพระปริตรจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคได้ ขจัดปัดเป่า ผองภัยทั้งปวงได้อย่างอัศจรรย์เพราะน้ำมนต์นั้นเกิดมาจากน้ำธรรมดาที่ถูกพุทธมนต์ที่พระสงฆ์ สวดกลั่นให้สะอาดบริสุทธ์และศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง 10.7 การพิสูจน์ค้าสอนในพระไตรปิฏก คำสอนในพระไตรปิฎกนั้นมีอย่างน้อย 2 ประเภท คือ ความรู้ด้านหยาบ และ ความรู้ ด้านละเอียด ความรู้ด้านหยาบ คือ ความรู้พื้นฐานทั่วไปที่มนุษย์ทุกคนสามารถศึกษาทดลอง พิสูจน์ให้เห็นผลในเวลาอันรวดเร็วเช่นการรักษาศีล 5 เป็นเหตุให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข กล่าวคือ ไม่ต้องกังวลว่า จะถูกจับกุมเพราะเหตุแห่งการลักขโมย เนื่องจากเราไม่เคยลักขโมย ของใคร ไม่ต้องกังวลกับการตามจำเรื่องที่ได้โกหกเอาไว้ เพราะเราไม่เคยโกหกใคร ไม่ต้องกังวล ว่า จะประมาทเพราะเหตุแห่งสุราเพราะเราไม่ได้ดื่มสุรา เป็นต้น คำสอนเรื่องศีล 5 นี้เป็นเรื่องที่ มนุษย์ทุกคนสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ง่ายและรวดเร็ว ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 43 หน้า 145-150. 308 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More