ข้อความต้นฉบับในหน้า
ยาดองโลณโสวีรกะ หมายถึง ยาที่ปรุงด้วยส่วนประกอบนานาชนิด เช่น มะขามป้อมสด
สมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด ถั่วเขียว ข้าวสุก ผลกล้วย หน่อหวาย การเกด อินทผลัม หน่อไม้
ปลา เนื้อ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ โดยใส่เครื่องยาเหล่านี้ในหม้อ ปิดฝามิดชิด เก็บดองไว้ 1 วัน 2
วัน หรือ 3 วัน เมื่อยานี้สุกได้ที่แล้ว จะมีรสและสีเหมือนผลหว้า เป็นยาแก้โรคลม โรคไอ โรค
เรื้อน โรคไข้เหลือง (ดีซ่าน) โรคริดสีดวง เป็นต้น
11.3.4 ประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์
นักศึกษาหลายท่านคงจะรู้จักหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นอย่างดีโดยเฉพาะคนที่มักใช้
บริการรักษาพยาบาลด้วยการแพทย์แผนไทย เพราะศูนย์การแพทย์แผนไทยทุกที่จะมีรูปปั้น
หมอชีวกโกมารภัจจ์อยู่ เพื่อไว้เป็นเครื่องระลึกถึงพระคุณของท่านที่ได้ถ่ายทอดวิชาการแพทย์
ให้ชาวพุทธและชาวโลกได้ใช้บำบัดรักษากันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นแพทย์หลวงแห่งกรุงราชคฤห์และเป็นแพทย์ประจำพระองค์
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ท่านเป็นแพทย์ที่เก่งกาจสามารถตั้งแต่วัยหนุ่ม
สามารถรักษาโรคที่แพทย์ทิศาปาโมกข์เก่งๆ หลายต่อหลายคนรักษาไม่ได้ให้หายภายในเวลาอัน
รวดเร็ว วิธีการรักษาของท่านมีหลากหลาย และหลายๆ วิธีก็คล้าย ๆ กับการรักษาในยุคปัจจุบัน
เช่น การผ่าตัด การขับพิษด้วยการขับถ่ายหรือที่เรียกว่าดีท็อกซ์ เป็นต้น
หมอชีวกโกมารภัจจ์ถือกำเนิดขึ้น ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยในสมัยพุทธกาลนั้น
มีกุมารีคนหนึ่งชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉมงดงาม ชาวพระนครราชคฤห์จึงได้คัดเลือกให้นาง
เป็นหญิงงามเมือง ต่อมานางสาลวดีได้ตั้งครรภ์และคลอดบุตรเป็นชาย นางไม่ปรารถนาจะ
เลี้ยงดูบุตร จึงสั่งทาสีให้นำบุตรนั้นไปทิ้งที่กองขยะ
ในวันนั้นนั่นเองเจ้าชายอภัยกำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวังได้ทอดพระเนตรเห็นทารกนั้นซึ่ง
ฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ได้ตรัสถามมหาดเล็กว่าพนาย นั่นอะไร ฝูงการุมกันตอม?
มหาดเล็กกราบทูลว่า “ทารก พ่ะย่ะค่ะ”
เจ้าชายอภัยตรัสว่า “ยังเป็นอยู่” หรือ พนาย?
มหาดเล็กกราบทูลว่า “ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ”
เจ้าชายอภัยจึงตรัสว่า “พนายถ้าเช่นนั้นจงนำทารกนั้นไปที่วังของเราให้นางนมเลี้ยงไว้”
มหาดเล็กจึงนำทารกนั้นไปวังของเจ้าชายอภัย แล้วมอบให้นางนมเลี้ยงไว้ เพราะ
บ ท ที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 331