ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. หลักธรรมต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกเป็นหลักปฏิบัติเพื่อไปสู่นิพพาน เป็นหลักธรรมที่
มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทุกหมวด ไม่ขัดแย้งกัน ย่อและขยายได้ หากย่อจนถึงที่สุดก็จะ
เหลือข้อเดียวคือ “ความไม่ประมาท” หากขยายความแล้วจะได้ “84,000 ข้อ หรือ พระธรรม
ขันธ์” แบ่งเป็นพระวินัย 21,000 ข้อ พระสูตร 21,000 ข้อ และพระอภิธรรม 42,000 ข้อ
2. หลักธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎกอาจจะจัดแบ่งเป็น 3 ข้อ ก็ได้คือ ละชั่ว ทำดี และ
ทำใจให้ผ่องใส หลักธรรม 3 ข้อนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา จิตสิกขา และ
ปัญญาสิกขา ถ้าขยาย 3 ข้อนี้ ให้เป็น 8 ข้อก็ได้เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมา
สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ จัดอยู่ในปัญญาสิกขา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
จัดอยู่ในศีลสิกขา สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ จัดอยู่ในจิตสิกขา
3. หลักธรรมสำคัญอีกหมวดหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในอรรถกถา คือ นิยาม 5 ได้แก่ พีช
นิยาม อุตุนิยาม จิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม นิยามทั้ง 5 นี้ เป็นกฎที่ควบคุม
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและในอนันตจักรวาล
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบภาพรวมหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎกดังนี้ คือ นิพพาน
ความไม่ประมาท ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส มรรคมีองค์ 8 ไตรสิกขา องค์ประกอบพระไตรปิฎก
และ นิยาม 5 อันเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับศาสตร์ต่างๆ ในบทอื่น ๆ ต่อไป
บทที่ 4 หลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก DOU 67