แนวคิดและวัตถุประสงค์การศึกษาในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 364
หน้าที่ 364 / 373

สรุปเนื้อหา

คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นกว้างขวางและครอบคลุมหลายศาสตร์ โดยมี 3 กลุ่มหลักคือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สามารถเชื่อมโยงกับพุทธธรรมที่มีความลึกซึ้งเหนือการศึกษาทางโลกจริง การศึกษาในพระไตรปิฎกสามารถนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ เช่น การศึกษาอย่างลึกซึ้ง การเปรียบเทียบกับศาสตร์ทางโลก และการนำพุทธธรรมมาใช้ในชีวิต นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รู้เข้าใจภาพรวมของสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกและนำไปใช้ในชีวิตจริงอีกด้วย

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดหลักของพุทธธรรม
-การศึกษาในพระไตรปิฎก
-ความเชื่อมโยงกับศาสตร์ทางโลก
-การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
-วัตถุประสงค์การศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น กว้างขวางครอบคลุมหลายศาสตร์ โดยศาสตร์ ทั้งปวงในทางโลกนั้นสรุปได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งพุทธธรรมในพระไตรปิฎกนั้น มีขอบข่ายครอบคลุมทั้ง 3 ศาสตร์นี้ แต่มีความลึกซึ้งและ กว้างไกลกว่าศาสตร์ในทางโลกมาก เพราะเป็นคำสอนที่เกิดจากการรู้แจ้งเพราะการเห็นแจ้ง ด้วยพระปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความรู้อันเกิดจากภาวนามยปัญญา ไม่ได้เกิดจากการฟัง การอ่าน หรือการคิดและตั้งสมมติฐานเอาด้วยหลักเหตุผลธรรมดา จากวิชาสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกนี้ มีข้อคิดที่สำคัญเพื่อให้นักศึกษานำไปปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน 3 ประการ คือ ให้ศึกษาพุทธธรรมในพระไตรปิฎกให้แตกฉาน ศึกษาด้วย การเปรียบเทียบกับศาสตร์ทางโลก และให้นำพุทธธรรมมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาทราบภาพรวมของวิชาสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกโดยย่ออีกครั้ง และ พื่อให้ได้ข้อคิดที่สำคัญ เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน บ ท ที่ 12 บ ท ส รุ ป DOU 353
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More