ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) มนุษย์จะคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองเท่านั้น มนุษย์จะพึงพอใจมากขึ้น
บริโภคของตนเองเท่านั้น
โดยไม่ต้องสนใจความพึงพอใจหรือสวัสดิการของผู้อื่น
เกขนกิด้วยการ
3) มนุษย์จะต้องเร่งการบริโภคของตนเพื่อให้มีความสุขเพิ่มขึ้น การบริโภคจึงแปลง
สภาพจากเครื่องมือมาเป็นเป้าหมายของการสร้างความสุขของมนุษย์
4) สังคมจะดีขึ้นจากการเร่งการบริโภคของทุกๆ คน นิยามคำว่า สวัสดิการสังคม คือ
ผลรวมของความพึงพอใจของแต่ละคนในสังคม ดังนั้น การเร่งบริโภคโดยรวมของสังคมจึง
กลายมาเป็นเป้าหมายของสังคมไปด้วยโดยอัตโนมัติ
ในช่วงเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการตอบ
คำถามว่า มนุษย์มีความสุขมากขึ้นจากการมีเงินและการบริโภคเพิ่มมากขึ้นจริงหรือไม่ ผลการ
ศึกษาในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศพบว่าเงินสามารถซื้อความสุขได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
และการสร้างความสุขดังกล่าวก็เป็นไปในลักษณะถดถอย กล่าวคือ ต้องใช้เงินเพิ่มมากขึ้น
อย่างมาก ในการเพิ่มความสุขขึ้นในอัตราเท่าเดิม
การศึกษาที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของ
รายได้ต่อหัวกับความพึงพอใจในชีวิตของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ.1958-1991 (พ.ศ.2501 -
2534) ปรากฏว่า ในช่วงเวลา 33 ปี รายได้ต่อหัวของชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นกว่า 16 เท่า แต่ชาว
ญี่ปุ่นกลับมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีความพึงพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้นเลยตลอดช่วงเวลา 3
ทศวรรษที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ในแง่ของการบริโภค การสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่า แม้ว่า
ร้อยละของครัวเรือนอเมริกันที่มีเครื่องปรับอากาศจะเพิ่มขึ้น 5 เท่า ร้อยละของครัวเรือนที่มี
เครื่องล้างจานจะเพิ่มขึ้น 7 เท่า ร้อยละของครัวเรือนที่มีรถยนต์มากกว่า 1 คันจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า
แต่ชาวอเมริกันยังรู้สึกว่าตนเองยากจนลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับ 2 ทศวรรษก่อน
จากข้อมูลดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า ความเชื่อเรื่อง เงินซื้อความสุข หรือ การบริโภคนำมา
ซึ่งความสุข มิได้เป็นความจริงเสมอไป มนุษย์มิได้มีความสุขเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการบริโภคเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องและมนุษย์ก็เริ่มและขวนขวายที่จะแสวงหาความสุขที่มิได้เกิดจากการบริโภคมากขึ้น
เรื่อย ๆ อดัม สมิธ บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้กล่าวไว้ว่า ต่อให้มนุษย์เห็นแก่ตัวแค่
ไหนก็ตาม ก็ยังเห็นได้ชัดว่า ยังมีหลักการบางอย่างอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ ที่ทำให้มนุษย์
' เดชรัต สุขกำเนิด (2550) เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข, จากหนังสือ “เศรษฐศาสตร์ธรรมิกราชา” (2550).
กนกศักดิ์ แก้วเทพ, บรรณาธิการ.หน้า 79.
* เดชรัต สุขกำเนิด (2550). “เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข. จากหนังสือเศรษฐศาสตร์ธรรมิกราชา” (2550).
กนกศักดิ์ แก้วเทพ, บรรณาธิการ หน้า 91.
บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ใน พระไตรปิฎก
DOU 223