การใช้ปัญญาในการละอุปาทานและนิวรณ์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 267
หน้าที่ 267 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการใช้ศัสตราหมายถึงปัญญาในการละอุปาทานขันธ์ 5 ประการ รวมถึงการจัดการกับนิวรณ์ 5 ประการ โดยยกตัวอย่างคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้และการใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาทางจิตใจ เช่น ความโกรธ ความลังเลสงสัย และอวิชชา. นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายเกี่ยวกับวิธีการที่สุเมธควรใช้ปัญญาในการขจัดอุปาทานและนิวรณ์เหล่านี้ เพื่อให้จิตใจเป็นอิสระและมีความสงบ

หัวข้อประเด็น

-การใช้ปัญญาในการละอุปาทาน
-นิวรณ์ 5 ประการ
-ศัสตราและอวิชชา
-ความสงสัยและการตัดสินใจ
-อุปาทานขันธ์ 5 ประการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6. คำว่า ศัสตรา เป็นชื่อของ “ปัญญาอันประเสริฐ” 7. คำว่า เป็นชื่อของ “การปรารภความเพียร” จงขุด 8. คำว่า ลิ่มสลัก เป็นชื่อแห่ง “อวิชชา” ซึ่งอธิบายว่า สุเมธเธอจงใช้ศัสตราคือปัญญายก ลิ่มสลักขึ้น หมายถึง “จงใช้ปัญญาละอวิชชาเสีย” 9. คำว่า อึ้ง เป็นชื่อของ “ความคับแค้นใจ” เนื่องมาจากความโกรธ ซึ่งอธิบายว่า สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราคือปัญญานำอึ้งขึ้นมา คือ “จงละความคับแค้นใจเนื่องจากความโกรธ” 10. คำว่า ทางสองแพร่ง เป็นชื่อแห่ง “วิจิกิจฉาหรือความลังเลสงสัย” ไม่รู้ว่าตัดสินใจ เลือกทางไหนดี ความสงสัยจึงชื่อว่าทางสองแพร่ง และความสงสัยนั้นสามารถละได้ด้วยปัญญา คือความรู้ 11. คำว่า หม้อกรองน้ำด่าง เป็นชื่อแห่ง “นิวรณ์ 5 ประการ” คือ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความพอใจในกาม กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความขัดเคืองใจ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความหดหู่และเซื่องซึม อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความลังเลสงสัย ซึ่งอธิบายได้ว่า สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรา คือ ปัญญา ยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา คือ “จง ละนิวรณ์ 5 ประการ จงขุดมันเสีย” 12. คำว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ 5 ประการ คือ รูปูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือเวทนา สัญญูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือสัญญา สังขารูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือสังขาร วิญญาณูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ซึ่งอธิบายได้ว่า “สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราคือ ปัญญา นำเต่าขึ้นมา คือ “จงละ อุปาทาน ขันธ์ 5 ประการ จงขุดมันเสีย” 256 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More