ข้อความต้นฉบับในหน้า
อาศัยคำว่า “ยังเป็นอยู่” พวกเขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า “ชีวก” และเพราะเหตุที่ชีวกนั้นเจ้า
ชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้เขาจึงได้ตั้งนามสกุลว่า “โกมารภัจจ์” ต่อมาไม่นานชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เดียงสา
และได้ ทูลถามเจ้าชายอภัยว่า ใครเป็นมารดาของเกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้า
กระหม่อมพ่ะย่ะค่ะ
เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก ตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า แต่ว่าเราเป็นบิดาของเจ้า
เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้ ชีวกโกมารภัจจ์จึงคิดว่า ราชสกุลเหล่านี้ คนที่ไม่มีศิลปะจะเข้าพึ่ง
พระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้
ในสมัยนั้น นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ จึง
ได้ทูลลาเจ้าชายอภัยเดินทางไปเรียนวิชาแพทย์ ณ เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก
เรียนได้เร็ว เข้าใจดี วิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม เมื่อเวลาผ่านไป 7 ปี ชีวกโกมารภัจจ์ จึงเรียน
ถามอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า กระผมเรียนวิชาแพทย์สำเร็จตามหลักสูตรแล้วหรือยัง
อาจารย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมืองตักกสิลา ระยะทาง
1 โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา ชีวกโกมารภัจจ์จึงถือเสียมเดินไปรอบเมือง
ตักกสิลาระยะทาง 1 โยชน์ ไม่เห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่ง จึงเดินทางกลับมารายงาน
ท่านอาจารย์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์จึงบอกว่า พอชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว หลังจากนั้นชีวกโก
มารภัจจ์จึงเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ ช่วยรักษาคนเจ็บป่วยหนักๆ ให้หายได้อย่างอัศจรรย์
จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นแพทย์หลวงแห่งกรุงราชคฤห์และเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคณะสงฆ์ สำหรับวิธีการรักษาของท่านจะได้กล่าวในลำดับต่อไป
11.3.5 การรักษาอาพาธในพระไตรปิฎก
จากที่กล่าวแล้วว่ามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายประกอบขึ้นจากสองส่วนที่สัมพันธ์กัน คือ
ร่างกาย และ จิตใจ การรักษาอาพาธในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกจึงรักษา
ทั้งสองส่วนนี้ไปพร้อม ๆ กัน ในส่วนของร่างกายก็มีวิธีการรักษาคล้าย ๆ กับการแพทย์ยุคปัจจุบัน
ส่วนทางด้านจิตใจนั้นจะบำบัดรักษาด้วยธรรมโอสถ
1) การรักษาทางด้านร่างกาย
การรักษาอาพาธทางด้านร่างกายในสมัยพุทธกาลนั้น มีวิธีการคล้ายๆ กับการแพทย์
ยุคปัจจุบัน ซึ่งเท่าที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมีดังนี้ คือ ให้กินยา ให้ดื่มยา ทายา นัตยา การ
รม การสูดควันที่เป็นยา การกรอก การผ่าตัด และการขับพิษ เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้
332 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก