บาปและวิบากในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 116
หน้าที่ 116 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับบาปและวิบากในพระไตรปิฎก ระบุว่าบาปเป็นสาเหตุของทุกข์และการเกิด ชรา มรณะ มีผลต่ออนาคตอย่างไม่สิ้นสุด บทความอธิบายว่า กรรมที่กระทำจะส่งผลตามวิบาก โดยเฉพาะในกรณีที่จิตใจหยุดนิ่งและมีสมาธิ ยังช่วยให้สามารถรู้กรรมและวิบากในอดีตและอนาคตได้ และต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มสัตว์ที่มีกรรมแตกต่างกันที่สามารถนำไปสู่สุขและทุกข์។

หัวข้อประเด็น

-บาปและวิบาก
-กรรมและผลกรรม
-การเกิด ชรา มรณะ
-การทำสมาธิและการรู้กรรม
-ความแตกต่างของสัตว์ตามกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะทำให้เกิดทุกข์ในภพบ่อย ๆ บาปนั้นชื่อว่ามีความกระวนกระวาย เพราะเป็นไปด้วย ความกระวนกระวายคือความเดือดร้อน ชื่อว่า มีทุกข์เป็นวิบาก เพราะให้ผลเป็นทุกข์อย่างเดียว บาปนั้นชื่อว่าเป็นเหตุให้มีการเกิด ชรา และมรณะต่อไปในอนาคตตลอดกาลนานไม่มีกำหนด บัณฑิตในสมัยก่อนทั้งหลายเรียกบาปว่าเป็นเหงื่อไคล เพราะเป็นเช่นกับเหงื่อไคล กล่าวคือ ทำให้ใจที่ปกติประภัสสรคือสว่างไสวให้สกปรกคือมืดมัว กรรมที่บุคคลประพฤติผ่านทางกาย วาจาและใจ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ย่อมมีวิบาก คือผลแห่งการกระทำเสมอ วิบากจะเป็นประดุจเงาติดตามกรรม โดยมีกรรมเป็นเหตุและวิบาก เป็นผลเสมอ กรรมและวิบากย่อมติดอยู่ในใจบุคคลผู้กระทำกรรม เปรียบดังโปรแกรมอันเป็น ภาพแห่งการกระทำและภาพแห่งผลของการกระทำเมื่อใดที่บุคคลฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เป็นสมาธิ หลุดพ้นจากกิเลสเมื่อนั้นย่อมสามารถรู้และเห็นกรรมและวิบากที่มีอยู่ในใจของตนและคนอื่นได้ ทั้งกรรมที่มีมาแต่อดีต และวิบากกรรมที่จะส่งผลต่อไปในอนาคต ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่ การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้ง หลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิว พรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึง ตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าเมื่อกายแตกทำลายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่า นั้น เบื้องหน้าเมื่อกายแตกทำลายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ ทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึง ตามกรรมด้วยประการดังนี้” 1 ปรมัตถทีปนี, อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 หน้า 282-283. บทที่ 5 มนุษยศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 105
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More