ทรัพย์ 2 ประการในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 212
หน้าที่ 212 / 373

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้กล่าวถึงคำว่า "ทรัพย์" แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โภคทรัพย์และอริยทรัพย์ โดยโภคทรัพย์เป็นทรัพย์ภายนอกที่ใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยา ในขณะที่อริยทรัพย์เป็นทรัพย์ภายในใจที่ประกอบด้วยทรัพย์เชิงคุณธรรม 7 ประการ คือ ศรัทธา, ศีล, หิริ, โอตตัปปะ, สุตะ, จาคะ และปัญญา การทำความเข้าใจในทรัพย์ทั้งสองประเภทนี้มีความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินและจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของทรัพย์
-ประเภทของทรัพย์
-โภคทรัพย์
-อริยทรัพย์
-คุณค่าของทรัพย์ในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

8.2 ทรัพย์ 2 ประการในพระไตรปิฎก ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “ทรัพยากร” ไปแล้วว่าหมายถึง สิ่งทั้งปวงอัน เป็นทรัพย์ ซึ่ง “ทรัพย์” หมายถึง สิ่งที่ถือว่ามีค่า ได้แก่ วัตถุมีรูปร่าง เช่น เงินตรา สิ่งอื่น ๆ หรือ วัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ปัญญา เรียกว่า อริยทรัพย์ ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่าอริยทรัพย์นี้เป็นศัพท์ ที่มาจากพระไตรปิฎก ทรัพย์ มาจากศัพท์ในภาษาบาลีหลายคำด้วยกัน เช่น ทัพพะ, ธนะ และ นิธิ เป็นต้น ทรัพย์ แปลว่า เครื่องปลื้มใจ” คำว่าทรัพย์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นมี 2 ประเภท คือ โภคทรัพย์และอริยทรัพย์ 8.2.1 โภคทรัพย์ โภคทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ภายนอก คือของที่จะพึงบริโภค เป็นเครื่องทำนุบำรุงร่างกาย แบ่งเป็นโภคทรัพย์โดยตรง และโภคทรัพย์โดยอ้อม โภคทรัพย์โดยตรง ได้แก่ ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยา รักษาโรค ส่วนโภคทรัพย์โดยอ้อม ได้แก่ เงินทอง หรือ เงินตรา ที่บัญญัติขึ้นสำหรับเป็นมาตรา สำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน เงินทองนั้นไม่ได้เป็นโภคทรัพย์โดยตรง เพราะไม่อาจจะเอามา เป็นเครื่องทำนุบำรุงร่างกาย คือ เอามานุ่งห่มไม่ได้ กินไม่ได้ เป็นต้น แต่จะต้องนำเอาไปซื้อ โภคทรัพย์โดยตรงคือ ปัจจัย 4 มาอีกทีหนึ่ง โภคทรัพย์ หมายรวมถึง เรือกสวน ไร่นา ที่ดิน เพชร นิล จินดา ยานพาหนะ สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของที่มีค่าอื่น ๆ ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัย 4 ได้เช่นกัน โภคทรัพย์นั้นจัดเป็น “โลกียทรัพย์” หมายถึง ทรัพย์ในทางโลก 8.2.2 อริยทรัพย์ อริยทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อันประเสริฐ เป็นทรัพย์ที่มีภายในใจ มีอยู่ 7 ประการด้วย กัน คือ สัทธาธนัง ทรัพย์คือศรัทธา, สีลธนัง ทรัพย์คือศีล, หิริธนัง ทรัพย์คือหิริ, โอตตัปปธนัง ทรัพย์คือโอตตัปปะ, สุตธนัง ทรัพย์คือสุตะ, จาคธนัง ทรัพย์คือจาคะ และ ปัญญาธนัง ทรัพย์ คือปัญญา 2 อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 353. สังคีติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 16 ข้อ 326 หน้า 227. บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 201
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More