อคติและการปกครองในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 146
หน้าที่ 146 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับอคติและการปกครองตามหลักพระพุทธศาสนา โดยเน้นการไม่วางตนสูงส่งเกินไปในฐานะผู้ปกครองและการละเว้นอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ, โทสาคติ, โมหาคติ, และภยาคติ ซึ่งสามารถสร้างความแตกแยกและขัดขวางความสามัคคีในสังคม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าผู้ปกครองที่ใช้หลักการเหล่านี้จะรักษายศและเกียรติยศไว้ได้ โดยอ้างอิงตัวอย่างจาก “จันทกุมารชาดก” ในกรุงพาราณสี.

หัวข้อประเด็น

-อคติในพระไตรปิฎก
-ความสำคัญของการปกครอง
-ผลกระทบของอคติต่อสังคม
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-ตัวอย่างจากจันทกุมารชาดก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เป็นผู้มีตนเสมอเขา พอเหมาะพอดีกับเขา เข้าใกล้ใครคนนั้นก็บอกว่าเป็นพวกเขา สำหรับ ปกครอง หมายถึง การไม่วางตนสูงส่งเกินไปจนประชาชนเข้าไม่ถึง แต่ให้วางตนเหมือนเป็น พ่อปกครองลูก ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกอบอุ่น เหมือนได้อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อใจดีมี เมตตาคอยดูแลสุขทุกข์ของลูกๆ เป็นอย่างดี 2. อคติ 4 อคติ หมายถึง ความลำเอียง เป็นหลักสำคัญที่ผู้ปกครองทุกคนจะต้อง “ละเว้น” ไม่ ว่าจะเป็นการปกครองในระบอบใดก็ตาม เพราะหากไม่ละเว้นความลำเอียงแล้ว จะเกิดการ แตกความสามัคคีกันอย่างรุนแรง จนผู้ปกครองไม่อาจจะควบคุมได้ เนื่องจากผู้ที่รู้สึกว่าตนไม่ ได้รับความเป็นธรรมจะไม่เชื่อฟัง อคตินั้นมี 4 ประการดังนี้ (1) ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือ เพราะชอบพอกัน (2) โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธ หรือ เพราะเกลียดชัง (3) โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะหลง หรือ เพราะความไม่รู้ (4) ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัว ได้แก่ กลัวอิทธิพล ฯลฯ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม ดุจดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น ส่วนบุคคลใด ไม่ละเมิดความชอบธรรมเพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของ บุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์ ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตัวอย่างของผู้ ปกครองที่ประกอบด้วยอคติ 4 แล้วเป็นเหตุให้ยศเสื่อมไว้หลายเรื่อง ในที่นี้จะยกตัวอย่างเรื่อง “จันทกุมารชาดก” ดังมีใจความดังนี้ ในอดีตกาล กรุงพาราณสีนี้มีชื่อว่า เมืองปุปผวดี พระเจ้าเอกราชทรงครองราชสมบัติ ในเมืองนั้น พระราชโอรสของพระองค์ทรงพระนามว่า พระจันทกุมารได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช พราหมณ์ชื่อว่ากัณฑหาละ ได้เป็นปุโรหิตและดำรงตำแหน่งตัดสินคดีความ กัณฑหาล พราหมณ์นั้น เป็นคนมีใจฝักใฝ่ในสินบน เมื่อรับสินบนแล้วจึงตัดสินคดีไม่ตั้งอยู่บนธรรม ทำ คนผิดให้ถูก ทำคนถูกให้ผิด ปฐมอคติสูตรและทุติยอคติสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต, มจร. เล่ม 21 ข้อ 17-18 หน้า 29-30. บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 135
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More