ข้อความต้นฉบับในหน้า
และที่สำคัญที่สุดคู่ปรับของโลภะคือทาน คู่ปรับของโทสะคือศีล และคู่ปรับของโมหะคือ
ภาวนา หากได้ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาอยู่สม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดกิเลสทั้ง 3 ตระกูล
คือ โลภะ โทสะและโมหะ อยู่ได้เรื่อย ๆ จนหมดในที่สุด
2.) ฝ่ายอกุศลกรรม หมายถึง กรรมฝ่ายชั่ว เป็นการกระทำที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ
โมหะ เป็นการกระทำที่มีโทษ เดือดร้อนในภายหลัง มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้อยู่ มีทุกข์เป็นผล
ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“กรรมที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เกิดแต่โลภะโทสะ โมหะ มีโลภะ โทสะ โมหะ
เป็นต้นเหตุ มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรม
นั้นมีทุกข์เป็นผล”
“บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือนร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เสวย
ผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดีเลย”
อกุศลกรรมเป็นการกระทำที่ไม่ดีไม่งาม ผิดศีล ผิดธรรม ทำให้จิตเศร้าหมอง มีทุกข์
โทษภัยเดือดร้อนในภายหลัง ก่อให้เกิดบาปและกุศลธรรม พฤติกรรมที่จัดเป็นอกุศลกรรมคือ
อกุศลกรรมบถ 10 สามารถแบ่งออก 3 ทาง ตามการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจาและใจ ดังนี้
คือ
กายทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางกาย มี 3 ประการ คือ
(1) ปาณาติบาต การจงใจฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต
(2) อทินนาทาน การจงใจลักขโมยของที่ผู้อื่นไม่ให้
(3) กาเมสุมิจฉาจาร การจงใจประพฤติผิดในกาม
วจีทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางวาจา มี 4 ประการ คือ
(1) มุสาวาท การจงใจพูดเท็จ
(2) ปิสุณาย วาจา การจงใจพูดส่อเสียด
(3) ผรุสาวาจา การจงใจ พูดคำหยาบ
(4) สัมผัปปลาป การจงใจพูดเพ้อเจ้อ
บทที่ 5 มนุษยศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 103