การจับฉลากในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 204
หน้าที่ 204 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหากล่าวถึงวิธีการจับสลากในสงฆ์โดยใช้ภิกษุผู้มีคุณธรรมเป็นผู้จับ โดยมีการปฏิบัติตามหลักธรรมวินัย เพื่อให้การตัดสินใจนั้นถูกต้องตามศีลธรรม ข้อกำหนดในการจับต้องไม่มีอคติทั้งในด้านบวกและลบ และต้องคำนึงถึงเสียงข้างมากในการระงับอธิกรณ์ การใช้เสียงข้างมากในการตัดสินใจนั้นต้องอิงกับธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด หากการตัดสินไม่เป็นไปตามนี้ อาจเกิดผลกระทบต่อผู้ที่รื้อฟื้นอธิกรณ์เดิม ต้องรับผลตามกฎระเบียบในสงฆ์

หัวข้อประเด็น

-การจับฉลากในสงฆ์
-คุณสมบัติของภิกษุ
-การระงับอธิกรณ์
-บทบาทของธรรมวินัย
-เสียงข้างมากในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หรือด้วยเสียงข้างมาก ซึ่งจะใช้วิธีการจับฉลาก โดยลำดับแรกให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ คุณ 5 ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ (1) ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ (2) ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง (3) ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย (4) ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว (5) เป็นผู้รู้จักสลากที่จับแล้วและยังไม่จับ ละกรรมวาจา วิธีแต่งตั้งและก เมื่อเลือกภิกษุผู้มีคุณสมบัติอย่างนี้แล้วก็ให้ภิกษุผู้ฉลาดประกาศให้สงฆ์ทราบว่าจะ สมมติภิกษุรูปนี้ให้เป็นผู้จับฉลากด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาดังนี้ “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก นี้เป็นญัตติ” “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก การ สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นจึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงทักท้วง” “ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้” ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น จึงให้ภิกษุทั้งหลายจับสลาก โดยการจับฉลากนั้นพระสัมมาสัม พุทธเจ้าทรงให้หลักว่า “ภิกษุพวกธรรมวาที่มากกว่า ย่อมกล่าวฉันใด พึงระงับอธิกรณ์นั้น ฉัน นั้น” หมายถึง แม้จะเป็นการตัดสินด้วยเสียงข้างมาก แต่ก็จะต้องยึดธรรมวินัยเป็นหลัก จะตัดสิน จากคะแนนตามใจชอบไม่ได้ การระงับอธิกรณ์ในลักษณะนี้ชื่อว่าระงับด้วย สัมมุขาวินัย และ เยฮุยยสิกา เพราะช่วง แรกดำเนินการระงับด้วย สัมมุขาวินัย แต่ไม่สำเร็จ ต่อมาจึงใช้วิธีเยยยสิกาคือการระงับโดย เสียงข้างมากเข้าช่วยจึงสำเร็จ ผู้ทำการรื้อฟื้นและติเตียนอธิกรณ์ที่ระงับแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่นเดียวกัน บ ท ที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 193
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More