ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
พุทธภาษิตตรัสประทานโอวาทแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี โสดาบันอริยสาวกว่า ปญฺจิเม คหปติ
ธมฺมา อิฏฺฐา กนฺตา มนาป ทุลลภา โลกสุม มีความว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมเหล่านี้ ๕ ประการ
คือ อายุ วรรณ สุข ยศ สวรรค์ สัตว์ปรารถนารักใคร่เป็นที่เจริญจิต สัตว์ได้ด้วยยากในโลก
เราถตาคตไม่กล่าวความได้ธรรม ๕ ประการนี้ เพราะเหตุปรารถนาและอ้อนวอน ถ้าหากสัตว์
ทั้งหลายจะพึงได้ประสบธรรม ๕ ประการนี้ เพราะปรารถนาและอ้อนวอนเท่านั้นแล้วไซร้ ใครจะ
จึงเสื่อมจากอะไรเหล่า โดยอธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายล้วนปรารถนา อายุ วรรณ สุข ยศ สวรรค์ เป็น
ข้อประสงค์จะมีมีอายุ วรรณ สุข ยศ คือ อิสริยบริวารเสมอ ๆ คล้าย ๆ กัน ทำลายขันธ์แล้วก็ล้วน
จะมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าสิ้น ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ธรรม ๕ ประการนี้ สัตว์หาได้
ประสบควยมาตรว่าปรารถนาและอ้อนวอนอย่างเดียวเท่านั้นไม่ อริยสาวกผู้ปรารถนา อายุ วรรณ
สุข ยศ สวรรค์ หาควรจะตั้งหน้าปรารถนาและวิงวอนไม่ พึงบำเพ็ญข้อปฏิบัติอันจะให้ อายุ วรรณ
สุข ยศ สวรรค์ เป็นไปด้วยดีนั้นเถิด เมื่ออริยสาวกมาปฏิบัติเป็นมรรคาทางมาของอายุ วรรณ สุข
ยศ นั้นแล้ว ก็ย่อมได้ อายุ วรรณ สุข ยศ เป็นทิพย์และของมนุษย์ เมื่ออริยสาวกมาปฏิบัติข้อปฏิบัติ
อันจะให้สวรรค์เป็นไปด้วยดีแล้ว ย่อมได้สวรรค์ สุคติภพเป็นผล เพราะข้อปฏิบัตินั้น, ปฏิปทา ซึ่ง
จะให้คุณ ๕ ประการ มีอายุเป็นต้นเป็นไปด้วยดีนั้น คือ กุศลสุจริตอันเกิดแต่อโลภะ อโทสะ อโมหะ
เป็นไปในกายวาจาจิต แล้วด้วยทานศีลภาวนา บุญซึ่งเป็นปฏิปทานั้นเล่า สาธุชนจะพึง
บำเพ็ญให้เป็นไป ก็อาศัยความไม่ประมาทเป็นการาปกพลวเหตุอันกล้าหาญ
สมเด็จพระสุคตทรงพระอนาวรณญาณ
เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสนิคมคาถาในพระสูตรอนาถบิณฑิกานุศาสน์นั้น
ว่า
อายุ วัณณ์ ยส์ กิตติ
สงฺนํ อุจจากุลีนต์
อุฬารา อปราปรา
รติโย ปตฺถยาเนน
เป็นต้น มีความว่า เมื่อนรชนมาปรารถนาอายุ วรรณยศ เกียรติ วสรรค์และความเกิด ณ ตระกูล
สูง และความยินดีอันยิ่ง ๆ ไป เป็นผลข้อประสงค์แล้ว พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทให้บริบูรณ์ใน
สันดานเถิด ก็สามารถจะเป็นบ่อเกิดแห่งกุศล และคุณที่ประสงค์มีอายุเป็นต้นนั้น
(๑) อง. ปญฺจก. ๒๒/๕๑.