ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
๒๗๔
รอบคอบ รักษาความดีที่ได้ทำแล้วให้ถาวรมั่นคง คอยระวังไม่ให้ช่องแก่อกุศลความชั่วที่ยังไม่ได้
ทำมาแต่ก่อนเป็นธุระปราบปรามใจตนให้ถ่ายถอนละทิ้งความชั่วที่ทำมาแล้วให้หมดสิ้นไป
ดง
นี้ชื่อว่า เกาะไม่ให้ห้วงน้ำท่วมท้น ได้ในพระพุทธนิพนธ์นี้โดยอรรถข้อความทั้งสองวิกัปนี้ ก็จัดเข้า
ได้ในพระบรมพุทโธวาทที่ประทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระอานนทพุทธอุปัฏฐากเป็นผู้รับเทศนา ในมหา
ปรินพพานสูตรว่า ตสุมาติหานนฺท อตฺตที่ปา วิหรถ อตฺตสรณา อนุญญสรณา เพราะเหตุ
นั้นแลอานนท์ ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มีตนเป็นที่เกาะที่พึ่งอยู่เถิด อย่ามีคนอื่นเป็นที่พึ่ง คือมี
ธรรมเป็นที่เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง พุทธภิตนี้
แสดงข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณบริษัทผู้รับเทศนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็แนะให้ได้สันนิษฐานว่า
อันคนจะทำเกาะคือถิ่นฐานของตนไม่ให้กระแสชล คืออันตราย ท่วมทับได้ จะต้องอาศัยตนเอง
จะคิดพึงพิงพวกอื่นหาใช่ทางไม่ ต้องทำตนให้บริบูรณ์ด้วยคุณธรรมนั้น ๆ ซึ่งเป้นเครื่องป้องกัน
บำรุงรักกา เป็นต้นว่า องค์สมบัติ ๔ ประการ ในหนหลัง
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
ตนของตนแล ย่อมเป็นที่พึ่งของตน ผู้อื่นใครเล่าจะมาเป็นที่พึ่ง วิริเยน ทุกขมจุเจติ ถึงยามตก
ทุกข์ จะล่วงพ้นทุกข์ลำบากนั้นได้ ก็เพราะความเพียร ดุจพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยผู้ผ่านสมบัติใน
ลังกา เมื่อราวอายุพระพุทธศาสนา ๔๓๗ ปีเสียพระนครแก่ไพรีพวกทมิฬ ต้องเสด็จปลายไปซุ่ม
อยู่ในถิ่นที่ราวไพร ท้าวเธอไม่ท้อแท้มุ่งหมายแต่จะได้พระนครคือนให้จงได้ อุตสาหะเกลี้ยกล่อม
ผู้คนรวบรวมรี้พลเข้าเป็นกำลังอยู่ถึง ๑๕ ปี จึงตีพระนครกลับคืนได้ ปราบพวกทมิฬให้ปราชัย
พ่ายแพ้ ทรงราชย์สืบมาโดยไม่มีภัย ความเพียรย่อมเป็นกำลังใหญ่ให้สำเร็จผลที่มุ่งหมาย
วายเมเถว ปุริโส
ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา
เป็นชายควรพากเพียรไปกว่าผลจะสำเร็จ กยิรา เจ กยิราเถน ถ้าจะทำควรทำกิจนั้น
จริง ๆ เมื่อได้ทำเช่นนั้นแล้ว ผลจะไม่สำเร็จก็ตามที ไม่ต้องมีวิปปฏิสาร ในหมู่บรรพชิตสมเด็จ
พระธรรมสามศร ก็ทรงสรรเสริญจตุรงคมหาปธาน คือความเพียรอย่างใหญ่ ไม่เห็นแก่
องคาพยพ ๔ แสดงโดยพระบาลีว่า
กาม ตโจ นหารุ จ
อฏฐิ จ อวสิสฺสตฺ
។
เป็นต้นว่า ความว่า เลือดเนื้อในกายของเราแห้งเหือดไปเถิด จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก