ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๑๘๐
อาศัยอยู่บนโลกได้โดยปกติสุขสืบไป จึงทรงพยายามประกอบพระราชกรณียกิจในหลาย ๆ ด้าน
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทรงกระทำได้
มีพระ
ราชประสงค์ให้เสาระแสวงหาพันธุ์พืชที่ให้ประโยชน์หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ทรงเห็นว่าทุกคน
ต้องมีความรับผิดชอบต่อการสร้างมลภาวะให้แก่โลก ทรงพยายามให้ทุกคนหลีกเลี้ยงการ “เผา”
เชื้อเพลิงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งการเผาป่าทรงพยายามเร่งส่งเสริมการปลูกต้นไม้โดย
นักวิชาการป่าไม้ควรวินัยว่า พันธุ์ไม้ชนิดใดบ้าง เพื่อจะได้พิจารณาใช้พันธุ์ไม้ ดังกล่าวในกิจการ
ปลูกป่าทดแทนในอนาคต อันจะมีผลให้คงความสมดุลของปริมาณก๊าซที่ต้องการ
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้ทรงมองปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ การใช้
ประโยชน์จากที่ดินที่ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ไกลไปในอนาคต ไม่ใช่เพียงเฉพาะหน้าแต่
เป็นการวางแผนอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน มองปัญหาจากระยะไกลสุดไกลพอสมควรจนใกล้
ที่สุด เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่เป็น “มองจากที่ไกล” และ “มองไปไกล” มองจากที่ไกลคือการใช้
ถ่ายภาพจากดาวเทียมเป็นเครื่องช่วยในการจัดรูปที่ดินถ่ายภาพทางอากาศกับการเดินเข้าสำรวจ
ประกอบ มองไปไกลก็คือ “ที่ทำกินไม่งอก” นอกจากรุกที่ป่า แต่จำนวนประชาชนงอกเงยขึ้น
เรื่อย ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการใช้ที่ดินที่มีอยู่อยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้สามารถ
เพื่อมีผลผลิตให้มีความสมดุลกันระหว่างพลเมืองที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นโดยวิธีต่าง ๆ ได้ทรงมี
พระราชดำริ ที่จะทราบและเข้าใจวิธีปฏิบัติได้จากพระราชดำรัส ที่พระราชทานในโอกาสเสด็จ
พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร่ ต้นน้ำลำธาร ที่มี
เป้าหมายจะฟื้นฟูสภาพได้พระราชทานวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลตลอดถึงเพื่อให้เกิดการ
เปรียบเทียบระหว่างการฟื้นฟูสภาพป่าไม้โดยใช้น้ำธรรมชาติ กับการเร่งรัดด้วยการเสริมน้ำจาก
โครการชลประทาน
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ได้ทรงมองปัญหาเรื่องน้ำอันเป็น
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งแวดล้อมอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของชีวิต
มนุษย์ หากมีการปฏิบัติใช้น้ำไม่ถูกต้อง น้ำที่ผ่านการใช้ของมนุษย์มาแล้วนั้นเอง ก็กลับจะ
ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่อมนุษย์ผู้ใช้น้ำได้อย่างมหาศาล ได้ทรงมีโครงพระราชดำริแก้ไข
ปัญหาเรื่องน้ำนี้ และได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับแก่
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๑๘๑