พระโสดาปัตติผลในเรื่องราวพระราชา มงคลวิเสสกถา หน้า 80
หน้าที่ 80 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปของพระราชาในมุมมองทางศาสนา โดยเฉพาะเรื่องราวของพระโสดาปัตติผลและการเผชิญกับอุปสรรคในชีวิต การเน้นย้ำถึงความสำคัญของมิตรภาพและการสมัครสมานของพระราชาและพระเทพในยามวิกฤติ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสกับมิตรที่ไม่ดีและนำไปสู่การเผชิญหน้ากับความยากลำบากในชีวิต การวิเคราะห์ถูกนำเสนอโดยอิงจากพระปรมาภิไธยและคำสอนจากพระโบราณาจารย์ การนำเสนอในบริบทของชัยชนะทางจิตวิญญาณท่ามกลางอุปสรรคต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-พระโสดาปัตติผล
-พระราชา
-อาจารย์
-กรรม
-คำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ៨០ แห่งพระโสดาปัตติผล ที่จะพึงได้บรรลุในอัตภาพนั้นเสีย แม้ท้าวเธอเป็นพระราชาครองแผ่นดิน มีพระเดชานุภาพล่วงกฎหมาย ไม่มีบุคคลจะลงกรรมกรณ์ ก็ยังต้องเสวยวิปฏิสารได้ความ เดือดร้อนพระราชหฤทัยเป็นอาชญา ท้าวเธอเคยทำมาเอง ก็จำต้องหวาดไม่ไว้พระทัย แม้ใน พระราชโอรส ไม่ได้ที่จะเสด็จอยู่สำราญ แม้ในทางกุลสังวาส คืออยู่ร่วมกัน เป็นตระกูล วาง ตัวอย่างอันไม่ดีไว้ ไม่เฉพาะแต่ในพระราชวงศ์ ยังทำความเสียไว้ในขัตติยมณฑลทั่วไปด้วย ถูก ตัดขาดจากความสมาคม นิยมนับถือของโลก ครั้นเสด็จละโลกนี้ไปแล้ว จะมีคติเป็นอย่างไร ก็ ไม่ต้องพยากรณ์. พระเจ้าอชาติศัตรูได้เสวยวิบากอันเผ็ดร้อนเช่นนี้ ก็เพราะสมาคมกับพระ เทวทัตต์ผู้เป็นปาปมิตร ในศุกลปักษ์ฝ่ายขาวคือข้างดี จึงสาธกด้วยเรื่องแห่งพระเจ้าตักกสิลา (๑) เม เมื่อครั้งยังเป็นพระราชกุมาร รอดพ้นจากอำนาจนางยักขินีผู้มาเป็น ก็เพราะได้พระปัจเจกพุทธะเป็นกัลยาณมิตร พระราชโอรสพระเจ้าพาราณสีในปัญจภีรุกชาดกเอกนิบาต เสด็จจะไปครองเมืองตักกสิลาอันเป็นทางไกลกันดาร ประโลมล่อในระหว่างทางและไปถึงโดยเกษมสวัสดี ตั้งมั่นไม่ละเมิดโอวาทของท่าน เมื่อท้าวเธอได้ผ่านสมบัติแล้วทรงเปล่งอุทานวาจาขึ้นว่า พาราณสี กุสลูปเทเส ธิติยา ทฬหาย อวตฺถิตตฺตา ภยภิรุตาย จ น รกุขสีนํ วสมาคมมุห์ เส ส โสตถิภาโว มหตา ภเยน เม. ดังนี้ มีความว่า เพราะเรามั่นแล้ว ด้วยความตั้งมั่น ในคำแนะนำของท่านผู้ฉลาด และเพราะ เราเป็นผู้ขลาดแต่ภัย เราจึงมิได้ถึงอำนาจแห่งนางยักขินีทั้งหลาย เราจึงมีสวัสดีรอดจากภัยใหญ่ อย่างนี้ เรื่องนี้พระโบราณาจารย์แสดงไว้ เปรียบความเป็นไปของกุลบุตรผู้รักษาตตลอดมาแต่ เยาว์จนได้เป็นอธิบดี ครองตระกูลอันหนึ่งขึ้นไปจนสุดวาสนาพระราชกุมารพระราชโอรสพระเจ้า ผู้เสด็จจะไปครองเมืองตักกสิลานั้น ได้แก่กุลบุตรผู้ยังเยาว์ อันก้าวขึ้นไปขึ้นสู่ที่สุด วาสนาของตนข้างหน้า ระยะทางในระหว่างนครทั้ง ๒ อันไกลกันดารนั้น ได้แก่ระยะเบื้องต้น และที่สุดของกุลบุตรผู้จะก้าวหน้าขึ้นไปนั้นยังห่างจากกันมาก ทั้งมีความลำบากขัดข้องที่จะต้องพล และลุไปเป็นชั้น ๆ. นางยักขินีในระหว่างทางที่คอยประโลมล่มให้หลงแล้วตกไปสู่อำนาจ ไม่อาจ ไปถึงเมืองตักกสิลานั้นได้แก่ เบญจพิธกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ยวนใจ ให้ กําหนดมัวเมา (๑) ขุ. เอก. ๒๗/๔๓. ตาฏฐกถา ๒/๓๕๒.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More