ข้อความต้นฉบับในหน้า
เหมือนอย่างเอาน้ำพรมลงไปที่ใจกำลังร้อนอยู่ด้วยอำนาจของกิเลสและอารมณ์ของกิเลสเหล่านี้
กิเลสเหล่านี้เป็นเหมือนไฟที่ลุกขึ้นเผาใจอยู่ เมื่อถูกน้ำคือเมตตาพรมลงไปแล้วก็จะทำให้ ไฟคือ
กิเลส อารมณ์ คือกิเลสนี้ดับลงไป หรือว่าลดความร้อนลงไป ลดกำลังลงไป ทำให้ขันติสามารถ
อดทนได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อมีเมตตาเต็มที่ขึ้นแล้ว ก็จะดับกิเลส ดับอารมณ์ของกิเลสลงได้ ขันติ
เป็นทศพิธราชธรรมข้อที่ ๔
อวิโรธนะ ที่แปลว่า ความไม่ผิด สำหรับธรรมะในชั้นนี้ควรหมายความว่า รู้ผิดแล้วไม่ดื้อ
ขึ้นทำคือไม่ยอมทำผิดทั้งรู้ รู้ผิดในที่นี้หมายถึงผิดจากข้อที่ถูกที่ควรทุกอย่าง เช่น ผิดจากความ
ยุติธรรมด้วยอำนาจ อคติ ผิดไปจากปกติ คือเมื่อประสบความเจริญหรือความเสื่อม ก็รักษา
อาการกายวาจาใจไว้ให้คงที่ ไม่ให้ขึ้นลงเพราะยินดียินร้าย คนสามัญทั่วไปในชั้นต้นยังทำผิดอยู่
เพราะไม่รู้ว่าผิด ถ้ายอมปล่อยไปเช่นนั้น ไม่ศึกษาก็จักเป็นผู้ไม่รู้จักชอบไม่รู้จักผิด ไม่อาจปฏิบัติ
ถูกดีได้ ผู้ปกครอง ผู้เป็นหัวหน้า เมื่อทำผิดด้วยอำนาจชอบรักบ้าง อำนาจฟังบ้าง อำนาจหลง
บ้าง อำนาจกลัวบ้าง ผู้อยู่ในปกครองก็เดือดร้อนอยู่เป็นทุกข์ ผู้อยู่ในปกครองเมื่อทำผิดเช่นนั้น
ผู้อยู่ในปกครองด้วยกันตลอดจนถึงผู้ปกครองเองก็เดือดร้อนอยู่เป็นทุกข์ แต่ถ้าผู้ปกครองผู้เป็น
หัวหน้ามีใจกอปรด้วยธรรม มุ่งความถูก พยายามศึกษาพิจารณา ให้รู้จักผิดและชอบแล้ว
พยายามทำการงานให้ถูกตามคลองธรรมไม่ให้ผิด และแนะนำพร่ำสอนผู้อยู่ในอำนาจปกครองให้
ประพฤติเช่นนั้น ด้วยผู้อยู่ในปกครองก็พยายามทำให้ถูกต้องตามคลองธรรม ไม่ให้ผิด ต่างฝ่ายก็
จักอยู่ด้วยความสงบสุข.
กล่าวโดยเฉพาะข้อที่ พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรง
ประพฤติผิดจากราชธรรมจรรยานุวัตรนิติศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม
ทรงอุปถัมภ์ยกย่อมคนผู้ที่มีคุณ ความชอบควรอุปถัมภ์ยกย่อง นําราบคนมีความผิดควร
บำราบในทางที่เป็นธรรม ไม่ทรงอุปถัมภ์ยกย่องและบำราบคนนั้น ๆ ด้วยอำนาจอคติ ๔
ประการมีฉันทาคติเป็นต้นก็ดี เมื่อมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุขซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาถึง
พระองค์ก็ไม่ทรงแสดงความยินดีซึ่งเป็น เหตุให้ผู้อื่นดูหมิ่นได้ว่าทรงมัวเมาอยู่ในสิ่งนั้น เมื่อมี
ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ต้องนินทา ได้ความทุกข์ร้อนซึ่งไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัยที่มาถึง ก็
ไม่แสดงความยินร้าย เสียพระทัยให้ปรากฏ
หรือเป็นเหตุให้ผู้น้อยซึ่งอยู่ในพระบรมเดชานุภาพพลอยตกใจแตกตื่นอลหม่าน
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นดูหมิ่นได้ว่าทรงหาขันติคุณมิได้
ทรงรักษาพระ
อาการคงที่อยู่ ไม่แสดงความผิด
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ๑๙๗