การศึกษาธรรมและเพื่อนดีในพระพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 135
หน้าที่ 135 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความสำคัญของการศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายถึงการศึกษาและการปฏิบัติที่ส่งผลให้เกิดปัญญาที่แท้จริง ซึ่งมิใช่แค่การจำท่อง แต่ต้องมีการเรียนรู้ที่เข้าใจอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังพูดถึงบทบาทของกัลยาณมิตรที่ดี ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือและแนะนำผู้อื่นให้เดินทางในทางที่ดี และข้อคิดในการเป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริง ตลอดจนการสร้างความดีงามเพื่อสังคมโดยรวม

หัวข้อประเด็น

-ศึกษาธรรมอย่างถูกต้อง
-ปัญญาในพระพุทธศาสนา
-บทบาทของกัลยาณมิตร
-ความหมายของกัลยาณมิตร
-การช่วยเหลือและแนะนำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ๑๓๙ ธรรมนั้นอย่างถูกต้องถ่องแท้ เป็นความรู้จริงปรากฏขึ้นประจักษ์ชัดแจ้ง คือเกิดเป็นปัญญาที่ แท้จริงของตนเอง มิใช่เป็นการจำปัญญาของผู้อื่นไว้ คือมิใช่จำพระปัญญาของสมเด็จพระบรม ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นใจไว้ และนำไปพูดไปเขียนไปอ้างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญญาต้อง อาศัยการเรียนรู้และการปฏิบัติประกอบกัน การเรียนรู้หรือการฟังจึงมีคุณมาก ได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า พหุสฺสสติ อุปาเสยย ต มูล พรหมจริยสุส สุต จ น วินาสเย ตสุมา ธมฺมธโร สิยา ។ แปลความว่า พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะนั้นเป็นรากแห่ง พรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรมนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงศึกษาธรรม ทั้งด้วยทรงสดับและทรงอ่าน ทรง ใส่พระราชหฤทัยไว้ได้ ทรงทบทวนเพ่งพินิจพิจารณา เป็นเหตุให้เกิดพระปัญญานำไปสู่ความเจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรม ทั้งส่วนพระองค์และทั้งแก่อาณาประชาราษฎร์ประเทศชาติทั้งนั้น กัลยาณมิตตตาธรรม ธรรมคือความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม กัลยาณมิตรมิได้หมายถึง เพียงผู้ที่เรียกกันว่าเพื่อน หรือมิตร หรือสหาย คำว่า เพื่อนนั้นมีทั้งที่เป็นเพื่อนดี เพื่อนไม่ดี เพื่อน สนิท เพื่อนไม่สนิท เพื่อนแท้ เพื่อนเทียม กัลยาณมีความหมายว่า ดี งาม เป็นมงคล เมื่อนำไป ประกอบเข้ากับคำใดคำหนึ่ง ก็ทำให้คำนั้นมีความหมายเป็นพิเศษขึ้น ด้วยความดีมีมงคล เช่น กัลยาณปุถุชน หมายถึงสามัญชนผู้ยังมิใช่อริยบุคคลที่มีใจมุ่งดีปรารถนาดีเป็นพิเศษเป็นมงคล กัลยาณจิตหมายถึงจิตที่มีความมุ่งที่ปรารถนาดีเป็นพิเศษ เป็นมงคลแผ่ไป กัลยาณมิตรจึง หมายถึงผู้ที่มีใจเป็นเพื่อนที่มุ่งดี ปรารถนาดีเป็นพิเศษเป็นมงคลแผ่ไป กัลยาณมิตรจึงหมายถึงผู้ที่ หวังดีให้ความช่วยเหลือ ว่ากล่าวตักเตือนแนะนำ ไม่ปล่อยให้คิดผิดพูดผิดทำผิด ทั้ง ๆ ที่รู้ ไม่ ปล่อยให้มีภัยมีความเสื่อมเสียเกิดขึ้น แม้ป้องกันได้ แม้มีคุณสมบัติดังรับพระราชทานถวายพระ พรแล้ว จะเป็นเพื่อนหรือไม่ใช่เพื่อนในความหมายที่ใช้กันทั่วไป ก็เป็นกัลยาณมิตรได้ คือแม้จะ เป็นผู้ที่ไม่รู้จักคุ้นเคยแม้ที่อยู่ห่างไกล ไม่เคยพบเห็น แต่เมื่อมีใจมุ่งที่ปรารถนาดีจริงใจต่อผู้ใด คิดพูดทำทุกอย่างเพื่อป้องกันช่วยเหลือผู้นั้น เต็มสติปัญญาความสามารถ ให้พ้นจากความเสื่อม เสีย ทุกประการ ไม่ว่ามากน้อยหนักเบา ก็นับได้ว่า เป็นกัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More