ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
เทวาปิ น ปสนฺติ
พรหมุนาปิ ปส์สโต
ติ ติ วิเสสมงคล
อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้เทวดาและพรหมก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้
อิโต ปร์ ปวกขาม
วัจจมาน หิ สุตวาน
มหาราชาธิราชสุส
ตโต สมฺปาทนตฺถาย
สมมา วา ปกหนฺตสฺส
ตปปจฺจยา
ชนินทสฺส
โยนิโส ปจจเวกฺขโต
กตฺตุกามตา
ภิยโยภาวาย สพฺพถา
เวยย
ธมฺเมน ปฏิปชฺชโต
สิยา สุวตถุมงคล
។
๑๓๘
ลำดับนี้ จักรับพระราชทานเลือกสรรคุณสมบัติที่ตั้งแห่งสวัสดิมงคลอันเป็นพิเศษยิ่ง ซึ่ง
ได้ชื่อว่ามงคลวิเสส มารับพระราชทานถวายวิสัชนา เพื่อประดับพระปัญญาบารมีได้ทรงสดับแล้ว
ทรงพระปัจจเวกขณ์ด้วยพระกำลังพระปรีชาญาณอันสูงส่ง พระราชปณิธาน เพื่อทรงบำเพ็ญ
ปฏิบัติพระคุณสมบัติเหล่านี้ จะพึงเกิดมีบริบูรณ์มีขาดในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้
ทรงพระคุณอันประเสริฐ เมื่อพระราชปณิธานบังเกิดเช่นนั้น ก็จะทรงมีพระราชอุตสาหะโดยพระ
อาการอันชอบ เพื่อจะทรงยงพระคุณสมบัตินั้น ๆ อันแม้ยังไม่สมบูรณ์ ให้พร้อมสมบูรณ์ เพื่อทรง
เพิ่มพูนส่วนที่ได้ทรงบำเพ็ญแล้วให้ภัยโยยิ่ง ทรงปฏิบัติทุกสิ่งโดยราชธรรม พระราชสิริสสวัสดิ์
พิพัฒนมงคลเลิศล้ำย่อมสำเร็จสัมฤทธิ์แต่ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงพระคุณอัน
ประเสริฐ.
ในศกนี้ (พ.ศ. ๒๕๓๖) พระคุณสมบัติส่วนอัตตสมบัติ จะของรับพระราชทานถวาย
วิสัชนาด้วย พาหุสัจจธรรม และ กัลยาณมิตตตาธรรม ส่วนปรหิตสมบัติ จะขอรับพระราชทาน
ด้วยรัฏฐาภิบาลโนบาย สาธกด้วยปัญญา พอเป็นนิทัสสนนัย
พาหุสัจจธรรม ธรรมคือความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก สิ่งที่พึงสดับตรับฟังให้มากใน
พาหุสัจจธรรม คือธรรมที่งามในเบื้องตน งามในท่ามกลาง งามในที่สุด คืองามทั้งเนื้อความ
งามทั้งถ้อยคำ ภาษาที่แสดงและงามทั้งความมุ่งหมาย เป็นความงามบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นจริง
การสดับตรับฟังธรรมนั้นย่อมหมายรวมถึงการอ่าน
การทรงจำไว้ในจิต และการ
ทบทวนเพ่งพินิจพิจารณา เมื่อได้ยินได้ฟังได้อ่านธรรมนั้น ๆ แล้ว ก็มิได้ใส่ใจอีกต่อไป ยุติเพียง
เท่านั้นจบสิ้นเพียงเท่านั้น เช่นนี้ไม่เรียกว่าพาหุสัจจะ จะเป็นพาหุสัจจะได้ต้องนำธรรมที่ได้ยินได้
ฟังได้อ่านไปเพ่งพินิจพิจารณาทบทวนจนได้ความรู้ความเข้าใจใน