ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๔๙
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา
อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
ทั้งสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน มีจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไป ตลอดทิศ ๑
อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จิต
ประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา อันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั้งสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นอธิบายในเรื่องโภคะของภิกษุ
๓
ธรรม ๔ ข้อนี้ คือ พรหมวิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม โดยทั่วไป
หมายถึงผู้มีภูมิธรรมสูงบริสุทธิ์ยุติธรรม เรียกยกย่องว่า ท่านผู้ใหญ่ คือ
เมตตา ได้แก่ ความสนิทสนม มีมิตรจิตรักใคร่ เว้นจากราคะ ปรารถนาความสุข
ความเจริญเพื่อผู้อื่น
กรุณา ได้แก่ ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นได้ทุกข์ร้อน เว้นจากความเบียดเบียน
ปรารถนาเพื่อจะปลดเปลื้องทุกข์ของเขา
มุทิตา ได้แก่ ความชื่นบาน เว้นจากอสสา ฤษยา อรติ ไม่ยินดี พลอยยินดีด้วยใน
เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา ได้แก่ ความวางใจ เพ่งพิจารณาในกรรมและผลของกรรม เว้นราคะปฏิฆะ
ยินดียินร้าย รักซัง อันทำให้ลำเอียง เสียความเป็นกลาง เสียความยุติธรรม ปฏิบัติให้ถูกชอบ
ยุติธรรมตามกรรม.
พรหมวิหารธรรม ๔ นี้ เมื่อแผ่ไปโดยไม่เจาะตัว ไม่มีจำกัด จึงเป็น อัปปมัญญา แปลว่า
ภาวนา มีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ ดังที่ตรัสสอนเป็นโภควัฑฒนธรรมในจักกวัตติสูตรนี้
พรหมวิหารธรรม มีในพระคุณของพระพุทธเจ้า ยกกรุณาเป็นประธานว่า พระกรุณา
คุณ ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ รตนัตตยยัปปณามคาถา บทแรกว่า พุทโธ สุสุทโธ
กรุณามหณุณโว พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระพุทธะ ผู้ตรัสรู้ พระสุสุทธะ ผู้บริสุทธิ์ กรุณา
มหัณณวะ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพทะเลหลวง
มีในพระคุณโดยเป็นพระราชธรรมจริยาสำคัญของพระมหากษัตริย์เจ้า
ประธานว่า พระมหากรุณาธิคุณ
ยกกรุณาเป็น