ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๐
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
คนกลัวแต่บุญเช่นนั้น ตรัสสอนให้ปลูกฉันทรุจิในบุญญกรรมนั้นแล้ว และอดทนกระทำเพราะบุญ
นั้นย่อมอำนวยผลพิเศาแก่ผู้บำเพ็ญให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ดังแสดง
ในนิธิกัณฑ์สูตรนั้น พระราชกุศลขันธ์ที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้ทรงสั่งสมเป็น
ปุพเพกตปุญญตาคุณเพิ่มพูนวิบากอัน
ลำดับมาตั้งแต่ปุเรกชาติจนภพปัจจุบันส่วนอดีตจัดเป็น
มโหฬาร ให้ทรงทราบสมบูรณ์ด้วยสมบัติ ๔ ประการ อันเป็นเหตุประกอบกิจ ใหญ่ ๆ ให้สำเร็จได้
โดยสะดวกดีข้อนี้นับว่าเป็นมงคลวิเสสที่ต้น ฯ
เมื่อสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ราชกุศลสมภารบุญญาธิการกิจ ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญไว้ในปางก่อน มาเพิ่มพูนวิบากสมบัติอันยิ่งใหญ่
ฉะนั้นแล้ว
ทรงพระอุตสาหะ
ทรงทราบด้วยกำลังพระปรีชาญาณว่าพระ
พิริยภาพเสด็จสถิตมั่นในพระราชธรรมอันเป็นเหตุเจริญพระ
เกียรติยศเดชานุภาพ เป็นที่ร่มเย็นของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูล ละอองธุลีพระบาท และทวย
ราษฎร์ข้าขอบขัณฑสีมา ต้องด้วยพุทธภาษิต สรรเสริญว่า
ยถา หิ ปพฺพโต เสโล
เป็นต้นว่า ความว่า ภูเขาศิลาอยู่ในป่าใหญ่ หมู่ไม้อาศัยภูเขานั้น เจริญงอกงามใหญ่โตอยู่ในป่า ฉัน
ได
ตเถว สีลสมฺปนฺนํ
อรญฺญสม พรหาวเน
สุทธ์ กุลปุตต์ อิธ
ย่อมอาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธาถึงพร้อม
บุตรภรรยาญาติพวกพ้องมิตรสหาย และคนผู้ฟังเลี้ยงชีพ
ด้วยศีลแล้ว และเจริญด้วยคุณสมบัติและวิบากสมบัติ ฉันนั้น
ตุ้ยสฺส สีลวโต สีล
จาก สุจริตานิ จ ฯ
ชนเหล่านั้นที่เป็นผู้มีปัญญา ได้เห็นศีลบริจาคและสุจริต ของกุลบุตรผู้มีศีลเป็นตัวอย่างก็ย่อมจะ
นิยมกระทำตาม อิธ ธมฺม จริตวาน ครั้นประพฤติธรรมสุจริตอันจะนำไปสู่สวรรค์สุคติดังนั้นแล้ว
ผู้ที่ยังใคร่กามคุณาภรณ์ ย่อมจะเพลิดเพลินบันเทิงอยู่ในเทวโลก, ความตั้งตนไว้ในคุณที่ชอบนั้น
เป็นเหตุยังตนและผู้อนุวัตรตามให้บรรลุความเจริญทั้งในอิธโลกและปรโลกฉะนี้ สมเด็จพระสุคต
มหามุนีจึงตรัสว่า เป็นสมบัติจักรและมงคลอันสูงสุดดุจปุพพกตปุญญตา อีกประการหนึ่ง พระคุณ
ข้อนี้นับว่าเป็นอัตตสัมมาปณิธิ มงคลวิเสสที่ ๒.
(๑) อง. สตฺตก. ๒๓/๑๖.