พระเจ้า พรหมทัตต์ และการบำเพ็ญกุศลธรรม มงคลวิเสสกถา หน้า 288
หน้าที่ 288 / 390

สรุปเนื้อหา

พระเจ้า พรหมทัตต์ทรงเป็นที่รักและเคารพจากประชาชน การบำเพ็ญกุศลธรรมของพระองค์ทำให้เข้าถึงความก้าวหน้าของจิตใจและสังคม พระองค์ต้องการที่จะนำมาซึ่งความสงบสุขให้แก่มวลชน โดยการดูแลปกครองให้มีความยุติธรรมและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในพระราชวงศ์และหมู่ชน นอกจากนี้ยังทรงคำนึงถึงความสำคัญของการรักษาขนบธรรมเนียมและคุณธรรมที่ทำให้ประชาชนมีชีวิตเป็นสุข.

หัวข้อประเด็น

-การบำเพ็ญกุศลธรรม
-บทบาทของมิตรธรรม
-การปกครองที่ยุติธรรม
-ความสำคัญของคุณธรรมในสังคม
-ความสัมพันธ์ในพระราชวงศ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๒๙๓ ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่อาศัยฉะนี้แล้ว ปรารถนาความเพียร บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อ บรรลุคุณที่เกษมจากโยคะ คือสังกิเลสธรรมอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ ปาปุเณ อนุปุพเพน จะพึงบรรลุธรรมเป็นที่สังโยชน์ได้โดยลำดับ ดังนี้. สพฺพสโยชนกขย่ ។ ตามเรื่องนี้ สันนิษฐานได้ว่าพระเจ้า พรหมทัตต์เป็นที่รักใคร่นับถือของประชาชน แลความจงรักนั้น มีอนุสนธิสืบเนื่องต่อมาถึงพระอ ลีนจิตตกุมาร ผู้เป็นโอรสรัชทายาทผู้ต้องด้วยบทพระบาลีแสดงมิตรธรรม ในสิงคาโลวาทสูตรว่า อปร์ ปชปิสฺส ปฏิปูเชติ ความว่า มิตรอมาตย์ผู้ได้รับบำรุงด้วยสังคหวัตถุ ตามควรแล้ว ย่อม นับถือตอบ แม้ตลอดถึงวงศ์วานอื่นอีกของมิตรนั้น พหุปปิยตา ความเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก เป็นผลแห่งสังคหอุบายนั้น ๆ ที่รวมสมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอไว้ด้วยประการหนึ่ง ยัง ประโยชน์ให้สำเร็จแก่ชนผู้นับเนื่องในหมู่ทั่วกันไป ไม่นิยมชั้น ด้วยประการฉะนี้ สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา ปกครองพระ ราชวงศ์นุวงศ์ ยกย่องให้ดำรงอิสริยยศโดยฐานานุศักดิ์ โปรดให้รับราชการโดยควรแก่สามารถ ด้วยปัคคหะกิจ แลทรงบำราบ ห้ามกันมิให้ประพฤติผิดจากธรรมของราชตระกูลด้วยนิคคหะอุบาย ตามหน้าที่เป็นประธานในพระบรมราชวงศ์ส่วนหนึ่งแล้วนอกจากนี้ ยังนับถือสนิทฉันพระญาติ หาทรงรังเกียจโดยต่ำศักดิ์ไม่ ข้อนี้จึงเห็นในการที่พระราชทานเลี้ยงแก่พระราชวงศานุวงศ์ แล พระราชทานสรงน้ำเป็นส่วนเชษฐาปจายนธรรมโปรดให้พระองค์ที่อ่อนพระชนม์ลงมาเสวยร่วม ด้วย พระองค์ทรงพระเมตตารับนิปัจจการพระราชทานของอำนวยพระพร แลพระบรมราโชวาท เป็นส่วนพระญาติสงเคราะห์ อนึ่ง สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ตั้งพระราชหฤทัยจะทรงทำนุบำรุง ข้าขอบขัณฑสีมาให้สมบูรณ์พูนสุข แลให้ได้รับความปองดองโดยยุติธรรมทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไข พระราชกำหนดกฎหมายขนบธรรมเนียมที่ขัดแก่เสรีภาพคือความเป็นโสดแก่ตน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More