อาชีวะและยาจโยคตาสำหรับพุทธศาสนิกชน มงคลวิเสสกถา หน้า 381
หน้าที่ 381 / 390

สรุปเนื้อหา

ในปี ๒๔๙๐ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวถึงการเลือกธรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เช่น ความบริจาคและการไม่ตระหนี่ พร้อมยกคำสอนจากบาลีเกี่ยวกับการให้และการช่วยเหลือผู้อื่นว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต โดยให้หลักธรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมเพื่อให้เกิดความสงบและเสมอภาคในโลกที่มีผู้ขาดแคลนและผู้บริบูรณ์

หัวข้อประเด็น

- อาชีวะ
- ยาจโยคตา
- การบริจาค
- ความเมตตา
- หลักธรรมของพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) พ. ศ. ๒๔๙๐ ព៨៦ ในปีนี้ (๒๔๙๐) จักเลือกธรรมมาถวายวิสัชนา ๒ ประการ คือ อาชีวะความเป็นผู้ตรง ๆ ยาจโยคตา ความเป็นผู้ควรเป็นที่ขอ ๑. (อาชวะ ถวาย พ.ศ. ๒๔๘๐) ยาจโยคตา ความเป็นคนควรเป็นที่ขอนั้นได้แก่ ความปราศจากตระหนี่ มีอัธยาศัยเผื่อแผ่ คนอื่นอาจออกปากขอความอุปถัมภ์ในคราวมีความต้องการขอ นี้เป็นคุณสมบัติประการหนึ่ง ของ พุทธศาสนิกชนผู้ดำรงอยู่ฆราวาส แสดงไว้ในบาลีพระสูตรลางแห่งว่า อิธ อริยสาวโก วิคตา ลมจฺเฉเรน เจตสา อคาร์ อมาวสติ มุตตจาโค ปยุตปาณิ โวสุสคครโต ยาจโยโค ทานส์วิภาครโต แปลความว่า อริยสาวกในพระศาสนานี้ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็น มลทิน อยู่ครองเรือนสิ่งใดควรให้ก็ให้ ไม่หวงแหน มีมือสะอาด คอยหยิบของให้ ยินดีในบริจาค ควรเป็นที่ขอ ยินดีให้การให้การแจก สัตวโลกมีกรรมเป็นของตน กรรมย่อมจำแนกให้เป็นผู้ขาด แคลนบ้าง ให้เป็นผู้บริบูรณ์บ้าง คนบริบูรณ์เกื้อกูลคนขาดแคลนด้วยน้ำใจเผื่อแผ่ ได้ชื่อว่า ช่วยผู้ นั้นขึ้นจากหล่ม ค้ำจุนโลกให้เป็นไปใกล้ต่อความสม่ำเสมอกัน อันเป็นทางแห่งความสงบ ราบคาบ บุคคลเป็นปานนี้จึงเป็นที่สรรเสริญของพุทธาทิบัณฑิตว่ามีชีวิตไม่เปล่า จรรยาของเขาจึงเป็น หลักธรรมประการหนึ่ง ของผู้ครองเรือน ถือเอาเนื้อความนี้เป็นที่ตั้ง ความเผื่อแผ่นี้เป็นไปในทาง พอดีพองาม ทรงตนทรงผู้อื่นไว้ได้ทั้งสองฝ่าย จึงจะสำเร็จประโยชน์ได้จริง ๆ โดยนัยนี้ ยาจโยคตา อันบุคคลจะบำเพ็ญให้เป็นผลดีต้องพร้อมด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ มีกำลังทรัพย์พอจะทำได้ ไม่ถึง ตนเองต้องกลับเป็นผู้ขาดแคลนยากจน การอุปถัมภ์นั้นช่วยผู้ขอให้พ้นจากความขาดแคลน หรือเพียงพยุงตนให้ทรงตนอยู่ได้ ๑ ถ้าเป็นแต่สักว่า มีคนขอก็ให้เพื่อสมปรารถนาของเขา เช่นนี้ กลับแต่จะให้โทษแก่ผู้รับ ทำให้เขาได้ง่าย เป็นคนสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักประหยัดทรัพย์ ยวนความ อยากได้ ของเขาให้เจริญ ขึ้น ถึงความเป็นคนมักขอ เป็นที่เบื่อหน่าย ของผู้อื่น. สมเด็จพระบรม โลกนาถ เมื่อครั้งเสวยพระชาติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More