ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(เจริญ ญาณวรเถร)
๒๗๕
ก็ตามที ผลอันใดจะพึงได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่ถึงผลนั้นแล้ว
แลจะหยุดเพียรเสีย จักเป็นอันไม่มี แม้สมเด็จพระชินสีห์ให้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธ
เจ้า เป็นเอกอัครในโลกก็เพราะอาศัยความเพียร ตั้งแต่เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ได้ทรงอบรม
วิริยะบำเพ็ญทุกกรกิริยาถึง 5 ปี ทรงแสวงสมเด็จพระปัญญาตรัสรู้ในวิธีต่าง ๆ ในที่สุดก็ได้
บรรลุในทางทำจิตให้บริสุทธิ์ พระราชามหากษัตริย์จะมีพระอิสริยศเดชานุภาพยิ่งใหญ่ เป็นพระ
เจ้าจักรพรรดิราช ทรงปกครองปฐพีมณฑลมีประเทศราชอยู่ใต้พระบารมี ก็ต้องอาศัยพระ
วิริยภาพบากบั่นหมั่นทรงบำเพ็ญจักรพรรดิวัตร
ทรงทำนุบำรุงรัฐพระราชอาณจักรสีมามณฑล
แลประชาชนพลพาหนะให้พร้อมพรั่ง ตั้งพระองค์อยู่ในไตรพิธสุจริตทศพิธราชธรรมจริยาวัตร
ความเพียรเป็นองค์สมบัติของอุดมบุรุษฉะนี้ ท่านจึงจัดเป็นพระบารมีของพระพุทธเจ้าประการ
หนึ่ง โดยศาสนโวหารว่า วิริยบารมีในพระบารมี ๑๐ ทัศ และจัดเป็นราชธรรมของพระราชามหา
กษัตริย์ประการหนึ่ง โดยธรรมโวหาร่า ตโป ในทศพิธราชธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
แล้ว ก็ยังทรงอุตสาหะ เสด็จเที่ยวจาริกไปแสดงธรรมโปรดเวไนยนิกร เป็นส่วนปรหิตปฏิบัติ คือ
ทรงประพฤติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น
ภิเษกแล้ว
เป็นพุทธกิจส่วนสัตตูปการสัมปทาพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธา
ก็ทรงประกอบพระวิริยภาพในราชกรณียะเพื่อประโยชน์ดุจเดียวกันให้เจริญรุ่งเรือง
ทันสมัยอยู่เป็นนิตย์ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงอุตสาหะในอันทรงบำเพ็ญราชธรรม
แลทรงบำรุงสยามรัฐสีมามณฑลอันเวิ้งว้าง ยากที่จะถึงที่สุด ก็ดุจเดียวกับพระมหาชนกเมื่อตก
มหาสมุทร พยายามว่ายกระแสชลอยู่ในห้วงมหาสาคร ไม่แลเห็นฝั่ง ถึงดังนั้น ก็ไม่มีท้อแท้ด้วย
กำลังวิริยบารมี นางมณีเมขลามีกรุณาช่วย ซึ่งได้แก่ความสำเร็จตามมุ่งหมาย เป็นผลแห่งความ
เพียรแลแกล้วกล้าเป็นอย่างดี พระคุณข้อนี้ นับว่าวิริยสมบัติ เป็นพระศุภสิริสวัสดิ์ อุดมมงคลอัน
มหาประเสริฐ บังเกิดมีในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า นั้น เป็นประการที่ ๒