ข้อความต้นฉบับในหน้า
២០
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
เป็นทำแลแล้ว ทรงขวนขวานเพื่อให้ได้ทุนสำหรับทำการปลูกสร้าง และมีคนเช่าถือป้องกันสมบัติ
ทรงแนะนำให้บุคคลมีแก่ใจรับเป็นมรรคนายก
พระอารามมิให้ตกไปและเพื่อพูนให้บริบูรณ์ขึ้น
ดูแลและปฏิบัติพระอาราม นี้พระราชกุศลส่วนเวยยาวัจจมัยบุญกิริยาวัตถุเกิดแต่ความขวนขวาย
ในกิจที่ชอบ เป็นเครื่องเจริญบุญราศีแก่ผู้ประกอบ ดังแสดงในกาลทานสูตรว่า
ความว่า
เย ตตฺถ อนุโมทนฺติ
น เตน ทักขิณา โอนา
เวยยาวจจ์ กโรติ วา
เตปิ ปุญฺญสฺส ภาคิโน
ชนทั้งหลายได้มีจิตเบิกบานอนุโมทนาก็ดี ช่วยกระทำความขวนขวานก็ดี ในทานนั้น
ทักขิณาก็มิได้บกพร่องไป เพราะเหตุมีผู้อนุโมทนาและช่วยขวนขวายนั้น ส่วนชนทั้งหลายนั้นย่อม
ได้ส่วนบุญเพราะการที่ตนได้อนุโมทนาและช่วยขวนขวายนั้นเอง อีกประการหนึ่ง เป็นคุณกระทำ
บุคคลให้เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่น แสดงไว้ในนาถกรณธรรมสูตร (๒) ยกภิกษุขึ้นเป็นที่ตั้งว่า ยมปิ ภิกข
เว ภิกขุ ยาน ตานี สพรหมจารีย์ อุจจาวจาน กิงกรณียาน, ตตฺถ ทุกโข โหติ อนลโส,
ตตฺรุปายาย ที่มีสาย สมนฺนาคโต อล์ กาต์ อล์ วิธาติ อยมปิ ธมฺโม นาถกรโณ ความ
ว่า ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันในกิจอันจะต้องใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำได้ ทั้งน้อยทั้งใหญ่ของสพรหมจารี
ทั้งหลาย ไม่เกียจคร้านประกอบด้วยวิจารณปัญญาสามารถในกิจนั้น อาจจัดอาจทำให้สำเร็จไปได้
นี้เป็นธรรมกระทำเธอให้สำเร็จไปได้ นี้เป็นธรรม กระทำเธอให้เป็นที่พึ่งของสพหรมจารี ประการ
หนึ่ง ถึงในคฤหัสถ์ถมณฑลก็อย่างเดียวกันท่านผู้เป็นใหญ่ประกอบด้วยปรีชาสามารถฉลาดใน
อุบาย ช่วยขวนขวายให้กิจธุระของผู้อยู่ใต้อำนาจสำเร็จได้โดยกำลังปัญญา ชื่อว่า เป็นที่พึ่งซึ่ง
ผู้น้อยได้ด้วยดีแล้ว.
ฝ่ายราชอาณาจักร ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะบำรุงรักษารัฐมณฑลให้สมบูรณ์และเพิ่มพูนสุข
สมบัติแห่งข้าขอบขัณฑสีมา ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินสู่ประเทศชวา อันเป็น
อาณาเขตต่างประเทศ เพื่อได้ทอดพระเนตรเห็นกิจการนั้น ๆ อันจะเป็นอุปการะแก่พระราโชบาย
เป็นเหตุต้องทรงลำบากพ้นประมาณ ถึงในกาลปางหลังก็ได้เสด็จพระราชดำเนินสู่ต่างประเทศเป็น
หลายครั้งตลอดถึงทวีปยุโรปเป็นที่สุด ไม่มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในทวีปเอเชียเบื้องบุรพทิศ
ได้เสด็จพระราชดำเนินไกลถึงเช่นนี้ นอกจากงานพระราชสงคราม ก็ไม่มีพระองค์ใดได้เสด็จถึง
แดนต่างประเทศนี้เป็น
(๑) อง. ปญฺจก. ๒๒/๔๔. (๒) อง. ทสก. ๒๖/๒๔.