ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
กยิรา เจ กยิราเถน
๓๐๐
ทสหเมน ปรกฺกเม
ถ้าควรทำพึงทำกิจนั้น พึงบากบั่นมุ่งกิจนั้นให้มั่น ท่านผู้เป็นมหาบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธิติ อัน
ใคร ๆ ไม่อาจให้คลอนแคลน ย่อมได้ความสรรเสริญว่า ทฬหสมาทาโน อวฏฐิตสมาทาโน
เป็นผู้มีสมาทานอันมั่น เป็นผู้มีสมาทานอันตั้งลง ในเรื่องนั้นเล่าถึง ท้าวสักรินทรเทวราช ทรง
สัมผัสปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ร้อนแล้วทรงเล็งทิพยเนตรเห็นเหตุแล้ว
ดาวดึงส์
แลทรงช่วยธุระท่านผู้มีอันสมาทานมั่นอย่างนั้นก็มี
เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้น
เรื่องนี้ถอดได้ใจความโดย
ธรรมาธิษฐานว่า ความเป็นผู้มีอันสมาทานมั่นนั้นย่อมเป็นเหตุร้อนถึงความสำเร็จอันต้องเผล็ด
ผลในอวสาน.
อีกประการหนึ่ง ธิตินั้น เป็นคุณสมบัติอันปรารถนา ในเวลาที่อันตรายคุกคามกอง
ทหารผู้ทำสงคราม ถูกข้าศึกล้อมระดมตี ขวัญหนีแล้วจะจะปราชัยต่อขวัญดี จึงจะอาจคิดแก้ไข
หาอุบายต่อสู้เอาชัยชนะศัตรูหรือรอดจากอันตราย, ชนผู้ประกอบด้วยธิติเป็นหัวหน้าอยู่ในหมู่
ใด ย่อมทำความอุ่นใจแก่หมู่นั้นอย่างนี้ ได้ในพระพุทธภาษิตว่า ธีโร จ สุขสวาโส ชนผู้มีธิติ
มีอันอยู่ร่วมด้วยเป็นสุข, พระคันถรจนาจารย์ปรารถนาจะสำแดงธิติว่า เป็นอารักขาคุ้มครองให้
ในปัญจภีรุก
คลาดแคล้วจากภัยสาธกด้วยเรื่องพระเจ้าตักศิลา พระราชโอรสพระเจ้าพาราณสี
ชาดกนิบาต เมื่อครั้งยังเป็นพระราชกุมารเสด็จจะไปครองเมืองตักกศิลาอันเป็นทางไกลกันดาร
รอดพ้นจากอำนาจนางยักขินีผู้มาประโลมล่อในระหว่างทาง แลไปถึงโดยเกษมสวัสดิ์ เมื่อท้าวเธอ
ได้ผ่านสมบัติแล้ว ทรงเปล่งอุทานวาจาขึ้นว่า
กุสลูปเทเส ธิติยา ทฬหาย
อวฏฐิตตฺตา ภัยภิรุตาย จ
น รกุขสีน้ำ วสมาคมมุห์ เส
ส โสตถิภาโว มหา ภเยน เม
។
ดังนี้ มีความว่า เพราะเรามั่นแล้ว ด้วยธิติอย่างมั่น ในคำแนะนำของปราชญ์ แลเพราะเราเป็นผู้
ขลาดต่อภัย เราจึงมิได้ถึงอำนาจแห่งนางยักขินีทั้งหลาย เราจึงมีความสวัสดี รอดจากภัยใหญ่
อย่างนี้ เรื่องนี้ท่านสำแดงไว้เป็นความเปรียบเทียบแห่งความเป็นไปของกุลบุตร ผู้รักษาตนรอด
มาแต่เยาว์ จนได้เป็นอธิบดีครองสกุลหนึ่งขึ้นไปจนสุดวาสนา,
เจ้าพาราณสี ผู้เสด็จจะไปครองเมืองตักกศิลานั้น ได้แก่
พระราชกุมารพระราชโอรสพระ