การมีมิตรและญาติในพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 38
หน้าที่ 38 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของญาติและมิตรในชีวิตมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา โดยระบุว่าหากบุคคลมีการคบหากับมิตรที่ดี เช่น กัลยาณมิตร จะส่งผลให้เกิดความเจริญ ในขณะที่การมีมิตรที่ไม่ดีอาจนำไปสู่ความเสื่อมทั้งในด้านทรัพย์และคุณธรรม นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและการปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมในชีวิตประจำวัน โดยยกตัวอย่างคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการคบหามิตรและญาติในประเด็นนี้

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของญาติ
-การมีมิตรที่ดี
-ผลกระทบของมิตรและญาติ
-คุณธรรมในพุทธศาสนา
-การปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ๓๘ พระประยูรญาติเป็น เหล่าอนุยนต์คอยตามเสด็จในราชกิจด้วยหมู่หนึ่ง จะต้องกล่าวอะไรถึงชน สามัญ บุคคลใดละเมิดวงศ์ญาติ ของขนเสียไม่แลเหลียว บุคคลนั้นได้ชื่อว่าตัดทอน กำลังของ ตนเอง ข้อนี้เป็นทางมาแห่งความเสื่อม สมด้วยพุทธภาษิตในปราภวสูตรว่า ชาติถทโธ ธนฤทฺโธ โคตุตถทโธ จ โย นโร “นรชนใดหยิ่งเหตุชาติ หยิ่งเหตุทรัพย์ และหยิ่งเหตุโคตร ย่อมดูหมิ่นญาติของตน ต์ ปราภวโต มุข ข้อนั้น เป็นมุขแห่งความเสื่อมฉะนี้ เหตุดังนั้น สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ ใน ญาติธรรมจึงควรให้เป็นไปในบุคคลผู้เป็นญาติตามสมควร เกิดขึ้นก็ย่อมจะเป็นกำลังช่วยให้สำเร็จไปได้ อีกประการหนึ่ง ชนผู้เป็นมิตรแห่งกัน ประพฤติตนตามฉันที่เป็นมิตร มีจิตคงที่ไปแปรผัน ในเวลาที่ฝ่ายหนึ่งได้ดีผิดกว่ากัน หรือฝ่ายหนึ่งเสื่อมทรามลงไป ดังนี้ ได้ชื่อว่าประพฤติตน สม่ำเสมอในมิตรธรรม อันมิตรนี้ถึงจะมิใช่ญาติแต่คบกันสนิทแล้วก็เหมือนญาติที่สนิท เมื่อกิจ และเป็นผู้ช่วยรู้สึกด้วยในสมบัติวิบัติ ก็แต่มิตรนี้มี ประเภทต่าง ๆ เมื่อย่อกล่าวก็เป็น ๒ ข้อ คือ ปาปมิตร สหายที่เป็นคนไม่ดี กล่าวโดยอริย โวหารว่า มิตตปฏิรูป คนเทียมมิตร ก็มี กัลยาณมิตร สหายที่เป็นคนดี ที่จัดว่าเป็นมิตแท้ก็มี และกิริยาที่คบมิตรเล่า ก็ผิดกับกิริยาที่นับถือญาติ บุคคลนับถือกันว่าเป็นญาติก็เพราะนับถือว่า เป็นผู้เนื่องกันทางฝ่ายมารดาหรือฝ่ายบิดา แต่จะคบกันเป็นมิตรนั้น ก็เพราะเป็นผู้ถูกอัธยาศัย ร่วมกันในกิจการนั้น ๆ การคบมิตรจึงเป็นสำคัญในปัจจัยภายนอก ที่จะจูงให้บุคคลถึงความ เสื่อมหรือความเจริญ เหตุดังนั้น พุทธาภิบัณฑิตจึงห้ามคบปาปมิตรเสีย แนะนำให้คนแต่กัลยาณ มิตและกัลยาณมิตรนั้น ท่านพรรณนาว่าเป็นปัจจแห่งความเจริญด้วยโภคสมบัติ และความเจริญ ด้วยคุณสมบัติ ทั้งที่เป็นส่วนโลกิยะ และโลกุตตระ เมื่อผู้ใดได้กัลยาณมิตแล้วก็พึงผูกใจไว้ด้วย สังคหวิธีตามสมควร ข้อนี้จึงสันนิษฐานโดยพระบรมพุทโธวาทตรัสสอนสิงคาลมาณพคฤหบดี บุตร ในสิงคาลสูตร ว่า ปญฺจ โข คหปติปุตฺต ฐาเนหิ กุลปุตเตน อุตตรา ทิสา มิต ตามจจา ปัจจุปฏฐาตพุพา ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรอมาตย์ทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรจึงบำรุง ด้วย ๕ สถาน คือ ทาเนน ด้วยการให้ปันทรัพย์พัสดุตามสมควร ๑ เปยยวซุเชน ด้วยเจรจา วาจาที่ไพเราะควรดื่มไว้ในใจ ๑ อตฺถจริยาย ด้วยประพฤติประโยชน์แก่กันในคราวที่ต้องการ ๑ สมานตฺตตาย ด้วยความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ ๑ อวิสวาทนตาย ด้วยความไม่แกล้วกล่าวให้ผิด จากจริง ๑ สมานัตตตตา ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ มิตรธรรม จึงให้เป็นไปในบุคคลผู้เป็นมิตร ตามสมควรฉะนี้. (๑) ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๗ (๒) ที. ปา. ๑๑/๒๐๔.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More