พระไตรปิฎกและความสำคัญในการดำรงพระศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 290
หน้าที่ 290 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างพระไตรปิฎกที่พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันบุรีนฤนาถ ทรงจัดการพิมพ์ ซึ่งมีการบริจาคจากพระบรมวงศานุวงค์และประชาชน เพื่อเทิดพระบารมีและส่งเสริมพระศาสนา การสืบทอดพระธรรมวินัยของพระศาสนาเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำให้พระพุทธศาสนายังคงอยู่และมั่นคง การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตในกษัตริย์ทำให้พระราชอาณาจักรยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของพระไตรปิฎก
-บทบาทของพระมหากษัตริย์ในพระศาสนา
-การสืบทอดพระธรรมวินัย
-วิธีในการรักษาความมั่นคงของพระศาสนา
-การบริจาคและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิมพ์พระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๒๙๕ ๑, ๕๐๐ จบ โปรดให้พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันบุรีนฤนาถ ทรงจัดการพิมพ์ แลโปรดให้พระ เจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการตรวจสอบ ต้นฉบับแลอักขรวิธี ส่วนต้นทุนในการสร้างพระไตรปิฎกนี้ เป็นส่วนของพระองค์แลพระบรม วงศานุวงศ์ ข้าราชการแลประชาราษฎร์ พร้อมเพรียงกันบริจาคพิมพ์สมพระราชประสงค์แล้ว เล่ม ในเดือนมีนาคมปีหลัง ส่วนที่เหลือก็พิมพ์เนื่องกันไปเป็นลำดับ บัดนี้จวนสำเร็จบริบูรณ์ พระคุณข้อนี้เป็นเครื่องเพิ่มพูนประดับพระบารมี ซึ่งเป็นที่เชิดชูพระราชอิสริยยศเดชานุภาพว่า สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า เป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก เป็นพระเกียรติอันเลิศ ดิลกยิ่งใหญ่ แผ่ขจรไปทั่วภูมิมณฑลคล้ายพระเจ้าอโศกมหาราชในอดีตกาลฉะนั้น จริงอยู่ พระ ยังมีผู้ทรงไว้แลปฏิบัติอยู่เพียงใด พระ ๓ ปริยัติธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ศาสนาก็ยังชื่อว่า ตั้งอยู่ได้มั่นคงเพียงนั้น เพราะเหตุนั้น เมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จดับขันธปริ นิพพานจึงตรัสบรรหารตั้งพระธรรมวินัยไว้แทนพระองค์แก่พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากว่า โย โข อานนฺท มยา เทสิโต ปญฺญตฺโต ธมฺโม จ วินโย จ โส โว มมจุจเยน สตฺถา ดูก่อน อานนท์ ธรรมวินัยใด ที่เราผู้ตถาคตแสดงแล้ว แก่ท่านทั้งหลาย ธรรมแลวินัยนั้นจักเป็นศาสดา ของท่านทั้งหลายภายหลังแต่เราผู้ตถาคตล่วงไปแล้ว การพิมพ์พระไตรปิฎกซึ่งเป็นของเก่าให้ บริบูรณ์ดีขึ้นนี้ ชื่อว่าได้สังคายนาพระธรรมวินัยของพระศาสนา อันเป็นเครื่องเชิดชูพระบารมีของ พระมหากษัตริย์เจ้า นับเข้าในการดำรงวงศ์พระสัทธรรมประการหนึ่ง แม้ในฝ่ายอาณาจักร การ ดำรงวงวงศ์สกุลย่อมเป็นหลักสำคัญ อันจักตั้งมั่นยืนยาวไปในภายหลัง ส่วนสกุลที่มั่งคั่งตั้งอยู่ได้ ยืนยาวได้ ก็เพราะเหตุ ๔ ประการ คือ แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า รู้จักประมาณในการจ่าย ๑ ตั้งผู้มีศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน เมื่อจักขยายส่วนกว้างแผ่ ออกไปถึงเมืองแลประเทศที่เป็นอาณาเขตเจริญรุ่งเรือง จักดำรงอยู่ยืนนานได้ ก็เพราะตั้งมั่นอยู่ ในธรรมดุจเดียวกันกับสกุล คุณข้อนี้เป็นเครื่องพยุงความเจริญให้คงที่หรือทวียิ่งขึ้น สมเด็จพระ ๑ ๑ บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงสถิตอยู่ในสกุลเชษฐ์ ทรงบำเพ็ญมั่นอยู่ในธรรมอันเป็นเหตุ ดำรงพระราชอาณาจักรให้ถาวรวัฒนาโดยลำดับ จึงทรงสะสางพระราชทรัพย์แผ่นดินแลเครื่อง อุปโภคบริโภคที่หายไปแล้วโดยมิชอบธรรม ให้สืบเสาะได้คืนมาอย่างเดิม ถึงแม้ว่าได้ไม่ครบ จำนวนที่หาย ก็คงยังดีกว่าปล่อยให้สูญไปด้วยความไม่นำพา โดยที่สุดจักไม่ได้พัสดุคืนมาก็ยังได้ ผู้ประพฤติทุจริต เพื่อป้องกันทรมานผู้ประพฤติผิดตามโทษานุโทษเป็นประโยชน์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More