การอบรมบุตรในพระพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 64
หน้าที่ 64 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวทางการอบรมบุตรตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มุ่งหวังให้นำทางให้บุตรหลานสามารถอยู่ในสังคมได้ดี โดยแบ่งออกเป็น 5 สถานที่สำคัญ เช่น ห้ามจากบาป, ให้ศึกษาศิลปะ, การมีครอบครัวที่ดีและการจัดสรรทรัพย์สินให้เหมาะสม กล่าวรวมถึงความรับผิดชอบของพ่อแม่ในการอบรมบุตรให้เติบโตขึ้นเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม เพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูลให้ยั่งยืน ถ้าหากปล่อยปละให้บุตรเติบโตโดยไม่ดูแล ก็อาจทำให้เกิดปัญหาและความเดือดร้อนในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-การอบรมบุตร
-ความรับผิดชอบของพ่อแม่
-คำสอนของพระพุทธเจ้า
-คุณธรรมในการเลี้ยงดู
-การศึกษาศิลปะและการมีครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ด ๖๔ ที่แสดงไว้ในเบื้องต้น บุตรจะได้พ้นจากความเป็นอวชาต และสามารถจะดำรงวงศ์สกุลให้ถาวรสืบ ๆ ไปตลอดกาลนาน สมเด็จพระโลกนาถเจ้า ก็ได้ประทานพระบรมพุทโธวาทไว้แก่สิงคาลมาณพ ตัรสหน้าที่มารดาบิดาจะพึงทำนุบำรุงบุตร ๕ สถาน (๑) คือ ปาปา นิวาเรนติ ห้ามจากโทษ อันลามก ๑ กลยาเณ นิเวเสนฺติ ให้ตั้งอยู่ในคุณดีงาม ๑ สิปป์ สิกฺขาเปนติ ให้ศึกษาศิลปะ ปฏิรูเป็น ทาเรน โยเซนติ ให้ประกอบด้วยภริยาที่สมควร สมเย ทายชช์ นิยยา เทนต์ ย่อมมอบทรัพย์ให้ในสมัย เป็นต้นว่าในเวลามีเรือน ๑ ในสถานทั้ง ๔ นั้น ๒ สถาน ข้างต้น คือห้ามจากบาปและให้ตั้งอยู่ในกัลยาณธรรม เป็นเหตุทำบุตรให้เป็นคนประกอบด้วย คุณสมบัติ ที่จัดว่าเป็นอติชาต หรืออนุชาต สถานที่ ๓ คือให้ศึกษาศิลปะนั้น เป็นเหตุทำบุตรให้ เป็นผู้มีความสามารถในอันทรงตนอยู่ได้ ๒ สถานข้างหลัง คือการปลูกฝังให้มีครอบครัวและให้ ทรัพย์นับว่าเป็นกำลังอุปถัมภ์บุตรด้วยประการนั้น ๆ. มารดาบิดาผู้เป็นบัณฑิตเห็นแจ้งซึ่งอรรถ ที่กล่าวมาจึงเป็นภารธุระที่จะยังบุตรของตนให้ได้รับการบริหารและฝึกหัดเป็นอันดีโดยสมควรแก่พ ลานุภาพ ไม่ปล่อยปละละไว้ให้เป็นพาล, อันบุตรนี้ กล่าวโดยอริยโวหาร จัดเป็นคหปตัคคี เพลิง นายเรือนนายบ้าน โดยฐานะที่จะต้องรับผิดชอบเพลิงโดยปกติ บุคคลรู้จักใช้ ย่อมยังประโยชน์ที่ จะพึงสำเร็จด้วยความร้อน หรือแสงสว่างให้เกิดมี ถ้าใช้ไม่ดี ก็อาจทำความพินาศให้ มีทั้งคุณ และโทษฉะนี้ ฉันใด บุตรก็มีอุปไมยฉันนั้น มารดาบิดาหมั่นเป็นธุระให้ได้รับบริหารฝึกหัดดีแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ตนให้ได้ชื่นบานเป็นผลแห่งความมีบุตร ดุจภาษิตว่า นนฺทติ ปุตเตห์ ปุต ติม ชนมีบุตรย่อมเพลิดเพลินเพราะบุตรทั้งหลาย ดังนี้ ตลอดถึงได้สืบตระกูลให้ยั่งยืนถาวร ถ้า ปล่อยปละให้เป็นพาล ก็จะทำความรำคาญเดือดร้อนให้ เข้าในภาษิตแย้งคำข้างต้นว่า โสจติ ปุตเตหิ ปุตติมา ชนมีบุตรย่อมละห้อยเพราะบุตรทั้งหลาย ดังนี้ ตลอดจนทำตระกูลให้เสื่อมสูญ เป็นที่สุด แม้เพราะบรรยายนี้ ควรแล้วที่มารดาบิดาจะตั้งใจบริหารรักษาบุตรของตนโดยชอบ แล้วด้วยบริหารวิธีมีประการดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามาแล้วในหนหลัง สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงบำเพ็ญปุตตสังคหะเป็นพระราชธุระในพระราช โอรสและพระราชธิดา ด้วยประการนั้น ๆ โดยควรแก่เวลา ทรงจัดให้พระราชโอรสได้รับ การศึกษาพิเศษ ส่วนปรสมัยในเมืองต่างประเทศโดยกาลนิยม สมด้วยโบราณขัตติยราชประเพณี ดังมีแจ้งในอรรถกถาพระธรรมบทว่า พระเจ้าปเสนทิผู้ครอง (๑) ที. ปา. ๑๑/๒๐๓.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More