บุญนิธิและวิธีบำเพ็ญบุญ มงคลวิเสสกถา หน้า 9
หน้าที่ 9 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาไฟฟ้ามหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสส่งเสริมการบำเพ็ญบุญและกุศล โดยชี้ให้เห็นถึงผลของบุญที่นำมาสู่ความสุขและสันติสุข ทั้งในมนุษย์และเทวดา พร้อมยกตัวอย่าง 3 ประการ ของผลที่ต้องประสงค์ และการอุทิศตัวในการปฏิบัติธรรมเพื่อผลที่ดี ประกอบด้วย มนุษยสมบัติ, สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ ว่าบุญสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ในชีวิตและการพ้นทุกข์.

หัวข้อประเด็น

-บุญนิธิ
-การบำเพ็ญบุญ
-ผลของกุศล
-คำสอนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
-คุณค่าของบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส) อสาธารณมญฺเญสํ อโจรหรโณ นิธิ กยิราถ ธีโร ปุญญานิ เอส เทวมนุสฺสานํ โย นิธิ อนุคามิโก สพฺพกามทโท นิธิ ។ มีความว่า บุญนิธินี้ไม่สาธารณะแก่คนเหล่านี้ โจรก็ไม่แย่งชิงนำไปได้ ผู้มีปัญญาจึงควร บำเพ็ญบุญนิธิ อันจะติดตามตนไป บุญนิธินี้ อาจอำนวยผลที่ต้องประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จแก่ เทวดามนุษย์ทั้งหลาย ต่อนี้ท่านบรรยายผลที่ต้องประสงค์ของเทวดามนุษย์ทั้งหลายนั้นเป็น หมวด ๆ ไป เมื่อยื่นเข้าก็ได้ ๓ ประการ คือ มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ ล้วนเป็น คุณที่จะพึงได้ด้วยอำนาจบุญนิธิ ปุพเพกตปุญญตาคุณ เป็นที่ตั้งแห่งศุภสวัสดิวิบุลผลฉะนี้ สมเด็จ พระชินสีห์จึงประทานพระบรมพุทโธวาท เพื่อให้อุตสาหะบำเพ็ญบุญโดยอเนกบรยาย จะเก็บรวม ถวายวิสัชนาโดยสังขิตนัย ข้อหนึ่งว่า กุสล ภิกฺขเว ภาเวล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย บำเพ็ญกุศลเถิด กุศลนี้สามารถจะบำเพ็ญได้ หาไม่เราก็จะไม่กล่าวชักชวนท่านทั้งหลาย เพราะ กุศลเป็นกรรมที่สามารถจะบำเพ็ญได้แท้ เราจึงได้กล่าวชักชวนท่าน อีกประการหนึ่ง ถ้ากุศลที่ บำเพ็ญแล้วจะเป็นไปเพื่อผลอันไม่เป็นประโยชน์และเป็นไป เพื่อผลอันไม่เป็นประโยชน์และเป็นไป เพื่อทุกข์แล้ว เราก็จะไม่กล่าวชวนท่านเหมือนกัน เพราะเหตุกุศลที่บำเพ็ญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อหิต สุข เราจึงกล่าวชวนท่านอีกข้อหนึ่ง พระองค์ตรัสให้เกิดอุตสาหะ ว่า มา ภิกขเว ปุญญาน ภาษิตถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้กลัวแต่บุญเลย สุขสุเสต์ ภิกขเว อธิวจน์ ยทิท์ ปุญ ญานิติ คำว่า บุญ ๆ นี้เป็นชื่อของสุข อธิบายว่า กรรมที่สัตว์กระทำด้วยไตรทวาร จะได้โวหารว่า บุญก็ดี กุศลก็ดี ต้องมี อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นสมุฏฐาน ข้อนี้เป็นการทวนกระแส โลกประวัติ ยากที่สัตว์โลกจะบำเพ็ญ ถึงเช่นนั้น ก็ยังไม่เป็นอันพ้นวิสัยของผู้ประกอบด้วยปรีชาเล็งเห็นผลแล้ว มีความกล้าหาญอดทนกระทำ ข้อนี้แลเป็นเหตุให้สัตว์โลกพิเศษ และต่ำช้าไม่เสมอทั่วกันไป บุคคล ใต้แม้แลเห็นผลแห่งบุญจริยาประจักษ์ แต่มาท้อถอยไม่สามารถจะบำเพ็ญ มีฉันทะอุตสาหะ ปีติ ปราโมทย์ในบุญจริยาน้อยเบาบางไม่กล้าหาญพอจะต่อสู้ด้วยหมู่กิเลสมาร คือ โลภะ โทสะ โมหะ อันมีกำลังกล้า บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า กลัวแต่บุญ สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ประทานพระบรม พุทโธวาทห้ามอย่าให้เป็น (๑) อง ทุก. ๒๐/๒๕. (๒ - ๓) อง. สตฺตก. ๒๓/๔๐.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More