ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(เจริญ ญาณวรเถร)
๓๓๙
จึงเป็นกิจสำคัญของบ้านเมือง โบราณบัณฑิตย่อมสำคัญเห็นข้าวว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐของบ้าง
เมือง ดังภาษิตว่า นตฺถิ ธัญญสมิก ธน์ ทรัพย์เสมอด้วยธัญชาติไม่มีดังนี้ เหตุดังนั้น จึงเป็น
พระราชกรณียะของพระราชบำรุงกสิกรรมเป็นการสงเคราะห์ประชาราษฎร์ประการหนึ่ง เรียกชื่อ
ว่า สสสเมธ์ แม้คนทั้งหลายจะหวังราชสังคหะนี้ จนที่สุดถือเอาพระราชาให้เป็นผู้รับชอบรับผิดใน
การทำนาของตน เมื่อฝนดีทำนาได้ผลงามก็มีความนิยมชมชื่นต่อพระเดชาภินิหาร เมื่อฝนแล้งทำ
นาไม่ได้ผล ก็โทษเอาว่าไม่ทรงตั้งอยู่ในราชธรรม เมื่อถึงคราวนา พระราชาในปางบรรพ์ ได้
ทรงจรดพระนั่งคัลเริ่มกสิกรรมด้วยพระองค์เอง ดังมีแจ้งในปฐมสมโพธิเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะพระ
พุทธบิดา ได้ทรงทำวัปปมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญด้วยพระองค์เอง ครั้งพระบรมศาสดายัง
ทรงพระเยาว์ ทั้งเอาพระราชธุระบำรุงการนา ดังปรากฏในเรื่องศากยะแลโลกิยะแย่งน้ำกันเพื่อ
นำเข้าในนาฝ่ายของตน จนถึงสมเด็จพระศากยมุนินทร์เสด็จไปห้าม
เมื่อราษฎรทำนาได้ผล
การลักการปล้นก็สงบ ราชพลีก็เจริญขึ้นเพิ่มพูนพระราชทรัพย์อันจะพึงจับจ่ายในราชการ
บำรุงการทำทำนบดน้ำ การตั้งคลังออมสิน การตั้งสหกรณ์กสิกรรม
ทรง
แลตั้งงบประมาณเงิน
แผ่นดินเป็นต้น, พระราชกิจเหล่านี้ เป็นส่วนรัฏฐาภิบาลโบบาย โดยบรรยายดังรับพระราชทาน
ถวายวิสัชนา ด้วยประการฉะนี้ จัดเป็นมงคลวิเศษที่ ๒.