สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 376
หน้าที่ 376 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจประวัติและเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และการดำเนินการที่นำไปสู่การเพาะบ่มพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ โดยมีการพิจารณาความสำคัญของการเลือกบุคคลที่เหมาะสมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเชิญพระองค์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อช่วยให้พระบิดาได้เห็นการตรัสรู้ของพระโอรสของพระองค์ รวมถึงเหตุการณ์ในยุคพระเจ้าอโศกที่ส่งผลต่อการรวมตัวของสงฆ์และการชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์จากเดียรถีย์ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของความรู้และวิจารณญาณในการเลือกบุคคลเพื่อดำเนินกิจการต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
-เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในพระพุทธศาสนา
-การเลือกบุคคลที่เหมาะสมในกิจกรรมสงฆ์
-พระบิดาและพระโอรสในศาสนาพุทธ
-พระเจ้าอโศกและความสำคัญของการชำระพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๓๘๑ โดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ราชคฤห์มหานคร ข่าวขจรไปถึงพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์มีราชประสงค์จะได้ทัศนาการพระราชโอรส อันได้ตรัสรู้เป็นพระสุคต สรรเพ็ชญ์พุทธองค์ จึงทรงส่งอมาตย์เป็นราชทูต ไปเชิญเสด็จพระทศพล, อมาตย์ผู้นั้น ไปถึง แล้วได้ฟังธรรมสำเร็จ พระอรหัตตผลแล้วบวชในพระธรรมวินัยเสีย หาได้กราบทูล อาราธนาไม่ พระเจ้าสุทโธทนะเห็นหายไป ก็ทรงส่งทูตไปใหม่เล่า เป็นอย่างนี้มาถึง ๙ ครั้งแล้ว ต่อ ครั้งที่ ๑๐ ทรงส่งกาฬทายอมาตย์ไป เหมือนทูตก่อน ๆ ก็จริง แต่พระเถระเจ้า กาฬุทายีได้ฟังธรรมสำเร็จพระอรหันต์แล้วบวชเสีย ยังได้กราบทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดามากรุง แลสดับพระธรรมเทศนาสมเด็จสมพระราชประสงค์ กบิลพัสดุ์ให้พระพุทธบิดาได้ทรงทัศนาการ การใช้คนไม่เหมาะเป็นเหตุไม่สำเร็จแห่งกิจฉะนี้ เรื่องสาธก ครั้งอโศกรัชกาล ภิกษุ พระเจ้าอโศกยังไม่แจ้งเหตุ ลางคราวหาเป็นแต่เพียงไม่ได้ผลอันดีเท่านั้นไม่ ให้เกิดโทษตรงกันข้าม ความว่า ในคราวเมื่อพวกเดียรถีย์เข้ามาปลอมบวชในพระพุทธศานา สงฆ์อันพวกพาลพาเหียรเข้ามาปะปนก็ไม่ยอมทำอุโบสถร่วมด้วย ทรงทราบแต่เพียงว่าพระสงฆ์ไม่ปรองดองกระทำอุโบสถร่วมกัน ตรัสใช้อมาตย์ผู้หนึ่งไปสู่อโศกา ราม เพื่อสมานพระสงฆ์แล้วอาราธนาให้กระทำอุโบสถ อมาตย์ผู้นั้นไปถึงแล้วก็ประชุมสงฆ์โดยพระ ราชโองการ ถามพระภิกษุทั้งหลายตั้งแต่ต้นแถว รูปใด ไม่ยอมตามก็หาว่าขัดรพระราชโองการ และปลงชีพรูปนั้นเสียโดยลำดับลงมา ครั้งนั้น ติสสกุมารพระราชอนุชาผนวชเป็นพระภิกษุและ อยู่ในสังฆสันนิบาตนั้นด้วย เธอเห็นดังนั้น จึงลุกขึ้นไปนั่งกันลำดับไว้ อมาตย์ไม่กล้าทำแก่พระราช อนุชา จึงกลับมากราบทูลพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงทราบประวัตติเหตุแล้วก็ตกพระหฤทัย เกรงว่าบาปจะมีแก่พระองค์ แต่นั้นจึงทรงเสาะหาท่านผู้สามารถจะวินิจฉัยความนี้ให้กระจ่าง ข้อนี้เป็นทางที่ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ มาสู่กรุงปาตลีบุตรจากเหนือน้ำ แล้ว อาศัยพระเถระเป็นกำลังทรงชำระพระศาสนาให้สิ้นเสี้ยนกล่าวคือ สึกพวกเดียรถีย์เสีย เพราะฉะนี้ การรู้จักบุคคลผู้เหมาะ จึงเป็นสำคัญ ในกิจทุกอย่างไป แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัส รู้ใหม่ ก็ยังทรงเลือกหาเวไนยผู้สมควรจะรับปฐมเทศนา เหตุว่าพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็น คุณอันสุขุม แสดงแก่ผู้มีปัญญาไม่ถึง ก็จะไม่พึงรู้จึงเห็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตรัสรู้ของพระองค์ก็จะ หามีประโยชน์แก่สัตว์โลกไม่ พระพุทธภูมิจะไพบูลย์ได้ก็เพราะมีผู้อื่นตรัสรู้ตามเป็นพระอริยสงฆ์ สาวกครบ ๓ รัตนะ หวนทรงพระพุทธดำริถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้ทำกาลกิริยา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More