การบัญญัติสิกขาบทของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มงคลวิเสสกถา หน้า 326
หน้าที่ 326 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการบัญญัติสิกขาบทโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งทรงมีวิธีการและหลักในการตัดสินใจที่ชัดเจน โดยมีการประชุมภิกษุเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีการอิงกฎหมายบ้านเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและเพื่อให้ตามหลักธรรมชาติ. พระองค์ทรงฉลองความสำคัญของการให้โอกาสสำหรับการแก้ตัวผู้ที่ถูกกล่าวหาและการรับฟังเสียงของนักปฏิบัติในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การบัญญัติสิกขาบท
-วิธีการทางพระพุทธศาสนา
-บทบาทของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
-การปฏิบัติตนในพระพุทธศาสนา
-การประชุมภิกษุในการตัดสิน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๓๓๑ ศรัทธาเลื่อมใสออกบรรพชา ที่ไหนจะประพฤติต่ำช้าเช่นนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ โลกก็จะไม่สำคัญใน กำลังพระปรีชาญาณสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ก็จะงอแง่นไม่เป็นแก่นสาร แต่เมื่อได้เหตุการณ์อัน ควรแล้วทรงบัญญัติ ย่อมตัดทางครหาเห็นปานนั้น โลกก็จะสำคัญในพระปรีชาสามารถสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติแล้วก็จะเฉียบขาดแน่นอน เมื่อมีผู้ประพฤติผิดเป็นนิทานปกรณ์แล้วไม่ทรงบัญญัติ สิกขาบทห้ามปรามเล่า ชนทั้งหลายก็จะโพนทะนาว่า พระองค์ทรงปล่อยปละละเลยสาวก ให้ เที่ยวประพฤติลามกตามอำเภอใจ ครั้งทรงมูลบัญญัติลงไปแล้ว ภายหลังการณ์ปรากฏว่ายัง หละหลวม ไม่พอจะป้องกันการล่วงละเมิดได้เด็ดขาด เช่นนี้ย่อมทรงเพิ่มอนุบัญญัติสับปลับ ถ้าปรากฏว่าตึงเครียดเกินไป ย่อมทรงอนุบัญญัติผ่อนลงมาพอควรแก่การณ์ ปปวาทโวหารว่า พระองค์ขาดพระเมตตา เพื่อตรัสปรับ อนึ่ง ในการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ๆ เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นปรากฏแล้ว โปรดให้ประชุม ภิกษุทั้งหลาย เพื่อเป็นการหลักฐาน แลปิดช่องที่จะคัดค้านในภายหลัง ให้เรียกตัวผู้กระทำผิดมา ในท่ามกลางประชุมภิกษุแล้ว ทรงซักถามตามระเบียบการอันชอบ เป็นอันเปิดโอกาสให้จำเลย แก้คดีได้เต็มที่ เมื่อผู้ผิดรับสารภาพเองแล้ว จึงตรัสตำหนิชี้โทษในการประพฤติเช่นนั้นแล้ว จึง ทรงบัญญัติห้ามมิให้ทำต่อไป ลางข้อที่ควรจะเลือกถือเอากฎหมายบ้านเมืองเป็นหลัก ตรัสถามผู้อื่นซึ่งเป็นผู้รู้กฎหมาย ก่อน จึงทรงบัญญัติอนุโลมตามนั้นก็มี เช่นเมื่อจะทรงบัญญัติมาตราอาหารในทุติยปาราชิก ทรง ทำกิจเบื้องต้นดังกล่าวมาแล้วนั้น ผินพระพักตร์ไปถามภิกษุผู้พิพากษาซึ่งมาบวชแลประชุมอยู่ใน ที่นั้นว่า ทางบ้านเมืองท่านกำหนดราคาของเท่าไรเป็นอย่างต่ำ จึงลงโทษผู้ทำอทินนาทานฐาน เป็นผู้ร้าย เธอกราบทูลว่า ๕ มาสก์จึงทรงตั้งมาตราอาหารตามนั้น ทั้งนี้ก็เพราะพระการณ วสิกตา ด้วยว่า แม้จะทรงทราบอยู่แล้ว แต่ตรัสถามอย่างนั้นก่อน ก็เพื่อให้ปรากฏว่า มิได้ เอาพระองค์เป็นใหญ่ ทรงบัญญัติอะไร ๆ หาหลักเกณฑ์มิได้ อาศัยภิกษุรูปนั้นซึ่งเคยเป็น เจ้าหน้าที่โดยตรงอยู่แล้วเป็นหลัก ก็หมดข้อค้านตั้ง แม้ในเรื่องเฉพาะตัวบุคคล ก็ทรงปฏิบัติอย่างนั้น ดังเรื่องภิกษุรูปหนึ่ง เคืองพระสารีบุตร ในสาเหตุที่พระสารีบุตรไม่ทักทายตนแล้ว ถือเอาข้อที่ชายสังฆาฏิพระสารีบุตรถูกตัวหน่อยหนึ่ง เป็นมูลเหตุ มากราบทูลฟ้องใส่ความว่า พระสารีบุตรแกล้วเดินกระทบตนแล้วไม่ขอขมา พระองค์แลใคร ๆ โดยมากก็ย่อมทราบได้ดีว่า ไม่ใช่วิสัยที่พระสารีบุตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More