ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
๓๖๔
(พ.ศ. ๒๔๘๓)
ในปีนี้ (๒๔๔๓) จักเลือกมาถวายวิสัชนา ๓ ประการ คือ ธัมมกามตา ความเป็นผู้
ใคร่ธรรม
๑
อัตถกามตา ความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ ๑ รัฏฐาภิบาลโนบาย
แผ่นดิน
๑
วิธีปกครอง
รัฏฐาภิปาลโนบาย
วิสัชนาพอเป็นอุทาหรณ์
(ธัมมกามตา ถวาย พ.ศ. ๒๔๗๗)
(อัตถกามตา ถวาย
พ.ศ. ๒๔๗๑)
วิธีปกครองแผ่นดินนั้น ในที่นี้ จักยกบางประการมาถวาย
อันชนนิกรผู้มีธุระกัน อยู่ใกล้ชิดกัน ย่อมจะวิวาทกัน เพราะการงานบ้าง เพราะทรัพย์
สมบัติบ้าง เป็นหน้าที่ของท่านผู้ปกครองจะไต่ส่วนแล้ว และผิดถูกระงับวิวาทนั้นเสีย แลในหมู่
คนนั้น ย่อมจะมีคนขาดแคลนทำโจรกรรมเอาทรัพย์ของผู้อื่นบ้าง แลคนเป็นพาลทำร้ายผู้อื่นบ้าง
เป็นอาทิ เป็นหน้าที่ของท่านผู้ปกครองจะต้องพิจารณาแล้วแลลงโทษแก่ผู้ทำผิด เพื่อรักษาสิทธิ
แลความเกษมสุของประชาชน ถ้าการพิจารณา ชี้ขาดแลลงโทษไม่เป็นไปโดยยุติคือความควรแล้ว
ย่อมเป็นเหตุเดือดร้อนของประชาราษฎร์ เหตุนั้น ความเป็นยุติธรรมแก่คนทั่วไปจึงเป็น
รัฏฐาภิบาลโนบาย ประการหนึ่ง โบราณกษัตริย์ ได้ถือเป็นพระราชธุระ ทรงสอดส่องด้วย
พระองค์เอง ทรงตั้งอมาตย์ที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้พิพากษาบ้าง ทรงตั้งพระราชกำหนด
เพื่อประโยชน์อุดหนุนยุติธรรม เป็นราช
กฎหมายไว้เป็นหลักแห่งการพิจารณาแลลงโทษ
ประเพณีสืบมา ในทางพระศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้ตรัสหลักแห่งยุติธรรมไว้
เป็นคติ, ข้อหนึ่ง ตรัสไว้ในปทุมชาดกว่า
นาทิฏฐา ปรโต โทส์
อณ์ ถลาน สพฺพโส
อิสฺสโร ปณเย ทณฑ์
สาม อปปฏิเวกขิย ។